CRC Café : Counselor ผู้ให้คำปรึกษา

วันศุกร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2562

Counselor ผู้ให้คำปรึกษา


ผู้ให้คำปรึกษา (Counselor-co)

การให้คำปรึกษา (Counseling) เป็นกระบวนการที่เมื่อบุคคลมีปัญหา หาทางออกไม่เจอ บุคคลนั้นอาจต้องการใครซักคนที่สามารถพูดคุย อย่างน้อยก็เพื่อระบายความอัดอั้นตันใจ หากไม่ได้รับการพูดคุยปรึกษาที่เหมาะสม อาจท้อแท้ หาทางออกไม่เจอ สิ้นหวัง จนอาจคิดฆ่าตัวตายได้ ดังนั้น การมีทักษะในการให้คำปรึกษาจึงเป็นเรื่องที่ก่อให้เกิดประโยชน์กับทุกคน

การให้คำปรึกษา เป็นกระบวนการสื่อสาร ระหว่างผู้ให้คำปรึกษา (Counselor-co) และ ผู้รับคำปรึกษา (Client-cl) โดยการพบปะพูดคุย (face to face) ซึ่งเป็นวิธีการที่ดีที่สุด เพื่อ
1.     เพื่อให้ข้อมูล (Provide knowledge/information)
2.     เพื่องานป้องกันและส่งเสริมสุขภาพ (Prevention and health promotion)
3.     เพื่อการรักษา (Intervention/treatment)
4.     เพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม (Behavior change)
5.     สร้างเสริมศักยภาพที่มีอยู่ในแต่ละบุคคล (Empowerment)
6.     เพื่อฟื้นฟูร่างกายและจิตใจ (Rehabilitation)
7.     เพื่อบูรณาการ (Integration) ผสมผสานหลายๆอย่าง

สำหรับผู้ให้คำปรึกษา (Counselor-co) การเตรียมความพร้อมในการทำ Counseling
1.     ต้องเริ่มจากตัวบุคคล-บุคลากร ผู้ให้คำปรึกษา (Counselor-co)
1.1  ต้องมีความรู้ความเข้าใจในหัวข้อที่จะให้คำปรึกษา (Knowledge base) หรือมีแหล่งความรู้ (resource)
1.2  มีศักยภาพพื้นฐาน (Competency base) ในการเปลี่ยนแปลงแก้ไขพฤติกรรม (Change behavior) และ การปรับเปลี่ยนความเข้าใจ (Change cognitive) ของแต่ละบุคคลที่เข้ามารับคำปรึกษา
1.3  มีความชำนาญพื้นฐาน (Skill base) ที่ได้จากการฝึกหัดและเรียนรู้จากประสบการณ์ ทำมากก็มีความชำนาญมาก
2.     เนื้องาน counseling – รู้แนวคิดหลักของการให้คำปรึกษา (key concept) เช่น HIV testing counseling ก็ต้องรู้เรื่อง โรค วิธีการตรวจ ผลการตรวจ ผลได้ผลเสียที่จะเกิดเมื่อผลการตรวจออกมา เป็นต้น
3.     การเข้าใจ clients – มีความเข้าใจภูมิหลัง วัยวุฒิ ศักยภาพในการแก้ปัญหาและความต้องการของผู้รับคำปรึกษา ไม่มีอคติ (ทำตัวเป็นกลาง neutral ไม่ตัดสิน) 

ข้อควรระวังสำหรับผู้ให้คำปรึกษา
            §  ควรแต่งกายสุภาพ ไม่ลำลองจนเกินไปซึ่งเป็นการเสียมารยาทและอาจเป็นการไม่ให้เกียรติผู้รับบริการ
§  ไม่ควรสวมเครื่องประดับเกินความจำเป็น ไม่ทาสีเล็บมือไม่แต่งหน้าจัดเพื่อไม่ให้เกิดการดึงความสนใจ ไม่เกิดการเปรียบเทียบ ไม่สร้างความแตกต่าง สร้างความรู้สึกกลางๆระหว่างผู้ให้และผู้รับบริการ
§  ควรปิดมือถือก่อนทำงานทุกครั้ง อย่างน้อยก็ปิดเสียง และควรสังเกตหากผู้รับบริการวางโทรศัพท์มือถือของเขาบนโต๊ะเพราะอาจมีการรับบริการอัดเสียงการสนทนาโดยเราไม่รู้ตัว
§  ไม่ควรเล่น smart phone ระหว่างให้คำปรึกษา ควรให้ความสนใจกับการสนทนากับผู้รับคำปรึกษา
§  มี eye contact กับผู้รับคำปรึกษา ไม่ใช่มัวแต่ตั้งหน้าตั้งตาจดบันทึก หรือใส่ข้อมูลใน computer
§  นำเทคนิคกุญแจ  11 ดอกของท่านอาจารย์ทิพาวดี เอมะวรรธนะ (11 Keys for counseling) มาใช้ตลอดการสนทนา



§  ใช้ความชำนาญในการติดต่อสื่อสาร (Communication skill)
-        ระมัดระวังภาษากาย เข่น การชักสีหน้า มองลอดแว่น การถอนหายใจ นั่งกอดอก นั่งไขว้ห้าง กระดิกเท้า กดปากกาเล่น พูดโดยไม่มองหน้าหรือสบสายตา แต่ก็ไม่ใช้สายตาบังคับหรือจิกตา
-        หลีกเลี่ยงคำว่า ทำไมเพราะผู้รับคำปรึกษาอาจไม่สะดวกใจ หรือ อึดอัด
-        ควรใช้คำถามปลายเปิด (Open ended question) เพื่อผู้รับคำปรึกษา จะได้บอกความรู้สึก หรือ พูดคุยได้มากขึ้น

ผู้ให้คำปรึกษา ต้องรับฟังอย่างไม่มีอคติ ผู้รับคำปรึกษาควรเป็นผู้คิดแก้ปัญหาด้วยตนเอง เราแค่รับฟังให้เขาได้พูด จนเข้าใจถึงเหตุปัจจุัยที่ทำให้เกิดปัญหานั้นๆ เขาอยู่ในสิ่งแวดล้อมนั้น เขาคิดว่าควรแก้อย่างไร แล้วให้ลองกลับไปทำ เมือกลับมาคุยครั้งหน้าก็มาดูกันว่าปัญหานั้นๆแก้ได้ไหม ดีขึ้นไหม ถ้าไม่ได้จะทำอย่างไรต่อ
หลักการทางศาสนาพุทธ อริยสัจ 4 นับว่าเป็นหลักการที่ดีมากในการแก้ปัญหาต่างๆอย่างดี 

  • ทุกข์ ปัญหาของผู้รับคำปรึกษามีอะไร 
  • สมุหทัย สาเหตุของปัญหา เกิดจากอะไร
  • นิโรธ ปัญหาทุกปัญหาแก้ได้ แต่จะแก้อย่างไรดี หาทางแก้ไข
  • มรรค นำแนวทางที่คิดได้ ว่าจะทำอย่างไร ไปทำ 

ทั้งหมดนี้ผู้รับคำปรึกษาต้องเป็นผู้คิดเอง ทำเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความใหม่

ชุดตรวจโรคด้วยตัวเองที่บ้าน Home Use Test

ชุดตรวจโรคด้วยตัวเองที่บ้าน Home Use Test ปัจจุบันนี้ชุดตรวจโรคด้วยตัวเองที่บ้านมีใช้กันอย่างแพร่หลาย สามารถอำนวยความสะดวกให้เราได้ตรวจโรค...

บทความแนะนำ