ผลประโยชน์ทับซ้อน (Conflicts of Interest: COI)
การแข่งขันในอุตสาหกรรมทางการแพทย์ทั้งธุรกิจยา เวชภัณฑ์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ รวมทั้งการคิดค้นวิธีการรักษาใหม่ๆ ทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นของการวิจัยทางคลินิกเพื่อการพาณิชย์ที่ต้องคำนึงถึงกรอบเวลาที่สำเร็จและค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียไปกับการคิดค้นซึ่งถือเป็นต้นทุนที่สำคัญ ทั้งจำนวนผู้วิจัยที่เพิ่มขึ้นทำให้เกิดการแข่งขันในกลุ่มผู้วิจัยเอง ทำให้บางครั้งมีการเพิ่มแรงจูงใจโดยการเสนอผลตอบแทนทั้งทางตรงและทางอ้อมจนก่อให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้มีส่วนได้เสียได้แก่ คณะกรรมการจริยธรรมวิจัย (Ethical Committees: ECs) สถาบัน ผู้วิจัย และแม้กระทั่งผู้ควบคุมกฎระเบียบ (Regulators)
ผลประโยชน์ทับซ้อน (Conflict of Interest) หรือ ที่สำนักงานราชบัณฑิตยสภา ใช้คำว่า การขัดกันแห่งผลประโยชน์ คือ “ความไม่สอดคล้องกันหรือความทับซ้อนกันระหว่างผลประโยชน์ของปัจเจกกัลป์ผลประโยชน์สาธารณะ ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาเมื่อผู้มีอำนาจ หรือผู้เกี่ยวข้องผลักดันการดำเนินการโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนตนมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม”
ในการดำเนินการวิจัยทางคลินิก ผลประโยชน์ทับซ้อนจะเกิดขึ้นเมื่อมีผลประโยชน์รอง เช่น รายได้ และชื่อเสียงของผู้มีส่วนได้เสียมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ ทำให้ทำลายจุดมุ่งหมายหลักของการทำวิจัยคือการได้มาซึ่งองค์ความรู้ เช่น ผู้วิจัยอาจได้รับรายได้จำนวนมากจากการหาอาสาสมัครเข้าร่วมโครงการซึ่งเป็นผลประโยชน์ทับซ้อนทางการเงิน เป็นต้น ผลประโยชน์ทับซ้อนที่เกิดขึ้นนี้อาจเกิดผลกระทบด้านจริยธรรมต่อการปฏิบัติทางการแพทย์และการวิจัยทางคลินิก ส่งผลต่อความปลอดภัยของผู้ป่วยและอาสาสมัครวิจัย การป้องกันไม่ให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อน หรือลดทอนการเกิดผลประโยชน์ทับซ้อนให้เหลือน้อยที่สุด และการจัดการผลประโยชน์ทับซ้อนจึงเป็นเรื่องที่จำเป็น ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ของการวิจัยในด้านวิทยาศาสตร์ รวมทั้งการปกป้องสิทธิ ความปลอดภัยและผลประโยชน์ของอาสาสมัครวิจัย
แนวทางจริยธรรมสากลสำหรับการวิจัยในมนุษย์ ฉบับที่ 4 ปี 2016 โดย สภาองค์การสากลด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ (the CIOMS Ethical
Guidelines for Biomedical Research by the Council for International
Organizations of Medical Sciences 2016: CIOMS2016) ระบุใน
แนวทางที่ 25 เรื่อง ผลประโยชน์ทับซ้อน (GUIDELINE
25: CONFLICTS OF INTEREST) ว่า
“วัตถุประสงค์ของการวิจัยด้านสาธารณสุขมีเพื่อสร้างองค์ความรู้ที่จำเป็นต่อการส่งเสริมสุขภาพแก่ประชาชนโดยใช้จรรยาบรรณที่เหมาะสม ผู้วิจัย สถาบันวิจัย ผู้ให้ทุนวิจัย คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย และผู้คิดค้นนโยบายเป็นผู้ที่มีส่วนได้เสีย การทำวิจัยให้ได้มาซึ่งองค์ความรู้อาจเกิดความขัดแย้งกับผลประโยชน์รอง ได้แก่ รายได้ ชื่อเสียง ซึ่งก็เป็นผลประโยชน์ทับซ้อน”
ผลประโยชน์ทับซ้อนที่เกิดขึ้นมีผลต่อการเลือกคำถามการวิจัย การออกแบบ พัฒนาเครื่องมือวิจัย การดำเนินการวิจัยโดยเฉพาะการสรรหาและการดำรงไว้ซึ่งอาสาสมัครวิจัย การเก็บข้อมูล การแปลผล ทำรายงานการวิจัยและตีพิมพ์ผลการวิจัย รวมทั้งการพิจารณาด้านจริยธรรมวิจัย จึงเป็นสิ่งที่สำคัญในการพัฒนา กำหนดนโยบาย ดำเนินกระบวนการที่จะป้องกัน สำรวจ ลด กำจัดและจัดการกับผลประโยชน์ทับซ้อน
ผลประโยชน์ (Interests) เป็นผลได้
หรือผลตอบแทน ที่ผู้มีส่วนได้เสียได้รับในหลายรูปแบบ
· ผลตอบแทนที่เป็นเงิน ได้แก่ การให้ทุนวิจัย เงินตอบแทนจากการหาอาสาสมัครเข้าโครงการ ให้ค่าตอบแทนจากการเป็นที่ปรึกษา/เป็นคณะกรรมการบริหาร/เป็นวิทยากร
· ผลตอบแทนที่ไม่ใช่เงิน ได้แก่ การให้ถือครองหุ้น ข้อตกลงสิทธิบัตร/ลิขสิทธิ์/เครื่องหมายการค้า/ใบอนุญาต หรือมีข้อตกลงพิเศษอื่นๆ เช่น ขายยาให้ในราคาถูกกว่าที่อื่น, การให้สิ่งของแก่ทีมวิจัย หรือแผนกเภสัชกรรม หรือห้องปฏิบัติการ เช่น แอร์ ตู้เย็น, จัดไปท่องเที่ยว อบรม ดูงาน
ผู้มีส่วนได้เสียที่แตกต่างกัน จะมีผลประโยชน์ทับซ้อนที่ไม่เหมือนกัน ผู้วิจัย สถาบัน คณะกรรมการ
จริยธรรมการวิจัย
ผู้ควบคุมกฎ รวมถึงบุคคลหรือคู่สมรสหรือบุคคลอื่นที่มีความสัมพันธ์อันเป็นส่วน
ตัวอย่างใกล้ชิดได้รับการว่าจ้างหรือ
มีผลประโยชน์ทางการเงิน หรือ อื่นๆ
ทั้งในอดีตที่ผ่านมาหรือ
คาดว่าจะมีกับผู้ให้ทุน/ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์วิจัย ทำให้ความเป็นกลางเป็นที่เคลือบแคลงสงสัย
หรือ
ทราบว่าอาจมีการมีผลประโยชน์ทับซ้อนเกิดขึ้น
ความสัมพันธ์ ในที่นี้หมายถึง มีความเกี่ยวข้องทางสายเลือด สมาชิกในครอบครัว มีความสัมพันธ์อันเป็นส่วนตัวอย่างใกล้ชิด เช่น เป็นคู่สมรส คู่เพศสัมพันธ์ ผู้ที่อยู่ในความปกครอง อาจารย์ที่ปรึกษา หรือการมีอคติส่วนตัว เช่น เป็นคู่แข่ง
แรงจูงใจที่ทำเกิดผลประโยชน์ทับซ้อน มักเกิดจากผลตอบแทนที่เป็นเงินเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็มีปัจจัยร่วมอื่นๆในตัวบุคคลที่มีอิทธิพลต่อการเกิดผลประโยชน์ทับซ้อน เช่น ความต้องการเกียรติยศชื่อเสียง ความทะเยอทะยาน ความกระหายอยากมีความรู้อยากทำวิจัย ความต้องการเรียนจบหรือมีความก้าวหน้าในตำแหน่งอาชีพการงาน
ผู้วิจัย (Researchers) ผลประโยชน์ทับซ้อนส่วนใหญ่จะพบในระดับของผู้วิจัยที่มีความสัมพันธ์
กับผู้ให้ทุน
ผู้บริหารสถาบัน และทีมวิจัยผู้อาวุโสที่มีความสัมพันธ์อันเป็นส่วนตัวอย่างใกล้ชิด ได้รับ
ผลตอบแทนจากบริษัทที่ให้ทุนวิจัย
ผลประโยชน์ทับซ้อนในสถาบันการศึกษามีมากขึ้นเมื่อผู้วิจัยและผู้อาวุโสของทีมวิจัยเป็นผู้ให้
แนวคิดในการทำวิจัย ตัวอย่างเช่น
ผู้วิจัยซึ่งทำงานมาหลายสิบปีเรื่องการวิจัยยาใหม่ อาจจะรู้สึก
ยากที่จะหยุดการวิจัยก่อนกำหนดเมื่อมีผลการวิจัยออกมาไม่ดีในระหว่างที่การวิจัยยังไม่เสร็จสิ้น
หรือผู้วิจัยได้รับผลประโยชน์ทางการเงินจากการทำวิจัย เช่น
เมื่อเงินเดือนของแพทย์น้อยกว่าการ
เป็นผู้วิจัยมากๆ หรือ ได้เงินค่าสรรหาอาสาสมัครเข้าโครงการ
ซึ่งอาจทำให้มีอคติในการคัดกรอง
อาสาสมัครเข้าโครงการแบบตั้งใจและไม่ตั้งใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออาสาสมัครเกรงใจและต้อง
พึ่งพิงผู้วิจัยในฐานะแพทย์ผู้ให้การรักษา ผู้วิจัยอาจกดดันให้อาสาสมัครที่มีคุณสมบัติเหมาะสมมา
เข้าโครงละเลยกระบวนการขอความยินยอมโดยสมัครใจ มีการผ่อนปรนเกณฑ์คัดเลือกอาสาสมัคร
ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่ออาสาสมัครหรือความน่าเชื่อถือของข้อมูลวิจัย
ผู้วิจัยที่ได้รับผลประโยชน์มากอาจ ทำให้มีอคติในการทำวิจัย ตั้งแต่การเลือกคำถามการวิจัย วิธีการ
การสรรหาและการดำรงไว้ซึ่งอาสาสมัคร
การแปลผลและการตีพิมพ์ผลการวิจัย โดยเฉพาะเมื่อ
ต้องการตีพิมพ์ผลการวิจัยเพื่อขอเลื่อนตำแหน่งทำให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อนด้านวิชาชีพ
ดังนั้นก่อนตัดสินใจทำวิจัย
ผู้วิจัยควรแน่ใจว่าตนเองมีเวลาพอเพียงในการทำวิจัย สามารถดูแล
อาสาสมัครให้ปลอดภัยและสามารถดำเนินการวิจัยได้ถูกต้องตามมาตรฐานสากล
สถาบันวิจัย (Research institutions)
ได้แก่
สถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัย ศูนย์วิจัย บริษัทยา องค์กรที่รับทำวิจัยตามสัญญา
สถาบันวิจัยสามารถมีผลประโยชน์ทับซ้อนทั้งด้านชื่อเสียงและเงินทอง
ตัวอย่างเช่น ชื่อเสียงของ
มหาวิทยาลัยขึ้นอยู่กับงานวิจัยที่จะดึงดูดความสนใจกับอาจารย์
นักศึกษา หรือเงินทุนสนับสนุนจาก
ภายนอกมหาวิทยาลัย
บางแห่งมีการให้สิทธิบัตรการค้นพบกับบุคลากร
ผลประโยชน์ทับซ้อนของสถาบันมีเพิ่มขึ้นเมื่อศูนย์วิจัยได้รับการสนับสนุนมากมายจากผู้ให้ทุนวิจัย
บริษัทยาจะพยายามเร่งการอนุมัติยาออกขายในตลาดเพื่อให้ได้รับสิทธิบัตรยามากขึ้น
หรือเพื่อเพิ่ม
รูปแบบการใช้ยา
สถาบันวิจัยเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่สำคัญในการวางนโยบายการจัดการผลประโยชน์ทับซ้อนและนำไป
ปฏิบัติกับคณะกรรมการจริยธรรมวิจัย
ผู้วิจัยและผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆของสถาบัน
คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน
(Ethics Committees:
ECs)
มีผู้วิจัยจำนวนไม่น้อยที่เป็นกรรมการECsด้วยทำให้มีโอกาสเกิดผลประโยชน์ทับซ้อนในบทบาททั้งสอง
โดยเฉพาะเมื่อได้รับเงินค่าตอบแทนหรือเมื่อได้รับทุนโดยตรงจากผู้ให้ทุนวิจัย
หากร่วมพิจารณา
โครงการวิจัยของตนเอง หรืออาจจะพิจารณางานของเพื่อนร่วมงาน
หรือผู้ที่มีความสัมพันธ์อันเป็นส่วน
ตัวอย่างใกล้ชิด หรือพิจารณางานวิจัยที่คิดว่าสำคัญต่อความสำเร็จของสถาบัน
ที่ได้รับทุนจากแหล่ง
เดียวกันนี้
ส่วนค่าธรรมเนียมที่จ่ายแก่คณะกรรมการฯ
(หรือสถาบันที่ดำเนินการ) สำหรับการพิจารณาโครงการ
ไม่ถือว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อน
เพราะการให้ค่าธรรมเนียมเป็นนโยบายทั่วไปที่สมเหตุสมผลกับ
ค่าใช้จ่ายในการพิจารณาและไม่ขึ้นอยู่กับผลการพิจารณา
คณะกรรมการฯควรประเมินโครงการวิจัยแต่ละโครงการ เรื่องผลประโยชน์เปิดเผยได้
(Financial
Disclose) และให้แน่ใจว่ามีวิธีการลดในกรณีที่มีผลประโยชน์ทับซ้อน
คณะกรรมการฯต้องใช้วิจารณญาณในการประเมินผลประโยชน์ทับซ้อนร้ายแรงและกำหนดมาตรการ
ที่เหมาะสมในการจัดการ
คณะกรรมการฯต้องตัดสินความเสี่ยงของผลประโยชน์ทับซ้อนของผู้ให้
ทุนวิจัย
หรือผู้วิจัย ที่อาจทำลายการดำเนินการวิจัยทางด้านจริยธรรม ที่ส่งผลกระทบต่อสิทธิ
ความ
ปลอดภัยและความเป็นอยู่ที่ดีของอาสาสมัครและด้านวิทยาศาสตร์ทำให้ข้อมูลที่ได้ขาดความ
น่าเชื่อถือ เช่น
ผู้วิจัยที่เพิ่งเริ่มต้นอาชีพที่มีเงินเดือนน้อยอาจจะทำให้มีผลประโยชน์ทับซ้อนด้าน
การเงิน วิชาชีพและวิชาการมากกว่าผู้วิจัยอาวุโส
โดยทั่วไปประโยชน์ทับซ้อนที่อาจร้ายแรงมีเมื่อ
การทำวิจัยของผู้วิจัยเพราะหวังผลประโยชน์ด้านวิชาชีพ
วิชาการ หรือการเงิน มากจนทำให้เกิด
ความลำเอียงในผลการวิจัย
หรือเป็นเหตุให้เกิดอันตราย หรือความผิดพลาดกับอาสาสมัคร
ผลประโยชน์ทับซ้อนสามารถมีอิทธิพลกับจิตใต้สำนึกของผู้วิจัย
ตัวอย่างเช่น ผู้วิจัยที่มีหุ้นส่วนทาง
การเงินกับโครงการวิจัยอาจจงใจทำให้เกิดผลการวิจัยตามที่ตนต้องการ ในการวิเคราะห์และแปล
ผลข้อมูลวิจัย
หากคณะกรรมการฯพิจารณาแล้วเห็นว่าผลประโยชน์ทับซ้อนที่เกิดขึ้นมีความร้ายแรงอาจให้ผู้วิจัย
ออกจากโครงการ หรือห้ามผู้วิจัยไม่ให้ทำการวิจัยโครงการอื่นๆ หรือยุติโครงการวิจัยนั้นๆเลย
คณะกรรมการฯควรกำหนดสมาชิกคณะกรรมการฯให้เปิดเผยผลประโยชน์ต่อคณะกรรมการฯและหาวิธีการบรรเทา เนื่องจากผลประโยชน์ทับซ้อนของคณะกรรมการฯ ทำให้ไม่มีความเป็นอิสระในการพิจารณาด้านจริยธรรมการวิจัย และเกิดความเสี่ยงต่อผลการวิจัย/อาสาสมัคร/ชุมชน/สังคม/ประเทศ
หากกรรมการท่านใด มีหรือคิดว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อนกับโครงร่างการวิจัยที่พิจารณาควร แจ้งให้
กลุ่มรับทราบและ ไม่สมควรเข้าร่วมในการพิจารณาหรือให้ความเห็นในโครงร่างการวิจัยนั้นๆ
ผู้ควบคุมกฎระเบียบ
(Regulators)
ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจเหนือกว่าผู้วิจัย
คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย ดังนั้นผลประโยชน์ทับซ้อนที่
เกิดขึ้นกับผู้ควบคุมกฎจะไม่แค่มีผลต่อการดำเนินการวิจัย
แต่หากจะมีผลต่อการอนุมัติการใช้ยาใน
ประเทศนั้นๆ
ตัวอย่าง ผลประโยชน์ทับซ้อนที่ก่อให้เกิดผลร้ายแรงต่อความปลอดภัยของอาสาสมัครวิจัยที่เปิดเผยต่อสาธารณชน
เช่น กรณีของเจสซี เกลซิงเกอร์ในปี 1999 ที่ US FDA มีมติให้ผู้อำนวยการของสถาบันยีนบำบัดในคน
มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ที่เป็นผู้วิจัยร่วมในโครงการด้วย ถูกลงโทษห้ามทำการวิจัย
5 ปี มหาวิทยาลัยต้องจ่ายเงินชดใช้ค่าเสียหาย ให้ยุติการวิจัยทั้งหมดของสถาบันยีนบำบัดในคน
มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียด้วย เมื่อปรากฏประเด็นนี้ทำให้หน่วยงานต่างๆให้ความสนใจกับเรื่องการมีผลประโยชน์ทับซ้อนในการวิจัยทางคลินิกโดยทั่วไปผลประโยชน์ทับซ้อนของคณะกรรมการจริยธรรม
สถาบันและผู้วิจัยจะแตกต่างกัน
ผลประโยชน์ทับซ้อนของสถาบันจะส่งผลกระทบต่อความมุ่งหมายในการทำวิจัย สำหรับผู้วิจัยอาจส่งผลต่อการปฏิบัติหน้าที่ในสถาบัน
เช่น หากผู้วิจัยเป็นคณะกรรมการจริยธรรมที่ต้องพิจารณางานวิจัยอื่นๆของผู้ให้ทุน หากผู้วิจัยเป็นผู้รับผิดชอบรับผลตอบแทนที่ผู้ให้ทุนให้แก่สถาบัน
หากผลตอบแทนนั้นเกี่ยวข้องกับผู้บริหารของสถาบัน เป็นความทับซ้อนที่เข้าใจยากและน่าเป็นกังวล
การจัดการผลประโยชน์ทับซ้อน Management of conflicts of interest
สถาบันวิจัย
ผู้วิจัย คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยและผู้มีส่วนได้เสียทั้งหมด ควรดำเนินการให้มี
การเปิดเผยการมีผลประโยชน์
(Financial
Disclosure) ซึ่งเป็นวิธีจัดการที่สะดวกและง่ายที่สุด แต่
การเปิดเผย
ไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด ทางแก้ที่ดีที่สุด คือ การป้องกัน หลีกเลี่ยง ค้นหาและ
กำจัด ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายมีหน้าที่รับผิดชอบร่วมกันในการพัฒนานโยบายและมีกระบวนการเพื่อ
บ่งชี้ ลด
กำจัด และมาตรการที่เหมาะสมในการจัดการกับผลประโยชน์ทับซ้อน
แม้ว่าจะเป็นความรับผิดชอบร่วมกัน
สถาบันวิจัยเป็นหน่วยงานสำคัญที่พัฒนา กำหนดนโยบายและ
กระบวนการจัดการผลประโยชน์ทับซ้อน โดย
- อบรมความรู้และสร้างวัฒนธรรมของสถาบันให้การป้องกัน ค้นหา ลดและหามาตรการที่เหมาะสมในการจัดการ
- จัดทำมาตรฐานการจัดการผลประโยชน์ทับซ้อน และมีแบบฟอร์มการเปิดเผยการมีผลประโยชน์ (Financial Disclosure Form)
- จัดให้มีการกำกับดูแลการวิจัยโดยผู้กำกับดูแลการวิจัย (Monitor) หรือ คณะกรรมการที่ปรึกษาชุมชน (Community Advisory Board)
- หากพบว่า มีผลประโยชน์ทับซ้อนร้ายแรงที่กระทบต่อการทำวิจัยเกิดขึ้น อาจจัดตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจพิจารณา
- สร้างความโปร่งใสในการทำวิจัย โดย
- วิจัยควรมั่นใจว่าได้ยื่นเสนอเอกสารการทำวิจัยต่อคณะกรรมการฯได้แก่ การเปิดเผยเรื่องผลประโยชน์ (disclosure of interests) ที่อาจจะมีผลต่อการวิจัยเปิดเผยแหล่งทุนวิจัย และงบประมาณที่ใช้ในการดำเนินการวิจัยแก่ ECs,
- เปิดเผยแหล่งทุนวิจัยในโครงร่างการวิจัยและเอกสารแนะนำอาสาสมัคร
- ลงทะเบียนข้อมูลวิจัยในเวปไซด์ที่เป็นที่ยอมรับของสาธารณชน เช่น https://www.clinicaltrials.in.th/, https://clinicaltrials.gov/,
-
ตีพิมพ์และนำเสนอผลการวิจัย
ผลประโยชน์ทับซ้อนเป็นปัญหาด้านจริยธรรมที่แฝงอยู่และหลบเลี่ยงได้ยาก ผู้มีส่วนได้เสียต้องร่วมมือกันป้องกัน ค้นหา แสดง ยอมให้ตรวจสอบ ประเมินระดับความขัดแย้ง ขจัดหรือลดให้เหลือน้อยที่สุด ทั้งนี้เพื่อให้ผลการวิจัยมีความสมบูรณ์ด้านวิทยาศาสตร์ และเกิดประโยชน์ต่ออาสาสมัครวิจัย ชุมชน สังคม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น