การจัดการเอกสารวิจัย (Study
Document Management)
ในการทำวิจัยมีเอกสารมากมายหลายชนิด ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นเอกสารที่สำคัญ
หายไม่ได้ เพราะการบันทึกและมีอยู่ของเอกสารเป็นการอธิบายหรือบันทึกวิธีการ
การดำเนินงาน และ/หรือผลการวิจัย ปัจจัยที่มีผลต่อการวิจัย และ การดำเนินการที่กระทำไป
(ICH GCP 1.22) เอกสารเป็นหลักฐานที่ผู้ให้ทุน
ผู้กำกับดูแลการวิจัย และผู้ควบคุมกฎระเบียบตรวจประเมินทุกครั้งที่มาและถือว่า หากไม่มีการบันทึกก็คือไม่ได้ทำ
“If you didn't document it, then it didn't happen”
เอกสารวิจัย ได้แก่
เอกสารสำคัญ (Essential Document) ที่เราจัดเก็บไว้ในแฟ้มเอกสารสำคัญ ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระยะ
ตามวิธีการดำเนินการวิจัยคือ
- ระยะเตรียมการ เช่น เอกสารยื่นเสนอECs/IRBs:
โครงร่างการวิจัย, เอกสารขอความยินยอม,
ใบประกาศ / ข้อความโฆษณา, เอกสารคู่มือผู้วิจัย, ประวัติผู้วิจัย, แบบบันทึกข้อมูล,เอกสารแสดงงบประมาณ, เอกสารประกัน (ถ้าต้องมี), จดหมายอนุมัติจากสถาบัน, จดหมายอนุมัติจากECs/IRBsอื่นๆ, ข้อตกลง (สถาบัน-ผู้ให้ทุน สถาบัน-CRO ผู้ให้ทุน –CRO), ตัวอย่างเอกสารต้นฉบับ, ค่าปกติของLab (Lab Normal Range), SOP/SSP/Manual, Study Staff Delegation Log, CVs, Certificates, Training
Record, ใบส่งของต่างๆ, อื่นๆ
- ระหว่างการดำเนินการวิจัย
เช่น เอกสารต่างๆฉบับปรับปรุงแก้ไข, รายงานต่างๆ,
ผลทางห้องปฏิบัติการ (Lab
Results Reports), แบบบันทึกติดตามตัวอย่าง (Specimen Tracking Log), Subject-SCR-Enroll-Log,
Subject Identification Form, Accountability Log, CRF corrections,
เอกสารการติดต่อIRB/CRO/Sponsor/Monitor, Email, บันทึกการประชุม, บันทึกข้อความ, บันทึกการสนทนา อื่นๆ
- หลังจากการวิจัยเสร็จสิ้นหรือยุติการวิจัย
เช่น เอกสารการส่งคืนหรือทำลายยา รายงานต่างๆ อื่นๆ
เอกสารทั้งหมดนี้จะถูกเก็บไว้ในแฟ้มเอกสารสำคัญตั้งแต่เริ่มต้นการศึกษาวิจัย
เอกสารต้นฉบับ (Source Documents) ในส่วนของสถานที่วิจัย
เป็นเอกสารข้อมูลและบันทึกต่างๆที่เป็นต้นฉบับ(เช่น เวชระเบียน-ของโรงพยาบาล ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ บันทึกช่วยจำ บันทึกประจำวัน บันทึกการจ่ายยาของเภสัชกร
ข้อมูลที่บันทึกจากเครื่องตรวจอัตโนมัติ สำเนาเอกสารที่ผ่านการรับรองว่าเป็นข้อมูลที่ถูกต้อง
ไมโครฟิช ฟิล์มภาพถ่ายไมโครฟิล์มหรือสื่อแม่เหล็ก บันทึกต่างๆ
ที่เก็บไว้ที่ฝ่ายเภสัชกรรม ที่ห้องปฏิบัติการ และที่อื่นๆที่เกี่ยวกับการวิจัย ICH
GCP 1.52 ทั้งนี้เพื่อยืนยันตัวตนของอาสาสมัครว่ามีจริง สำหรับการตรวจสอบ
และเพื่อใช้เพิ่มเติมรายละเอียดของเหตุการณ์ที่ไม่สามารถระบุในแบบบันทึกข้อมูล (CRF)
เอกสารต้นฉบับ (Source Documents) ในส่วนของโครงการวิจัย เป็นเอกสารข้อมูลและบันทึกต่างๆที่เป็นต้นฉบับ
ซึ่งโครงการวิจัยออกแบบมาใช้เพื่อช่วยให้เก็บข้อมูลได้ครบถ้วน
ตามกำหนดของโครงร่างและการลงข้อมูลในCRF ผิดพลาดน้อย
- แบบฟอร์มตรวจสอบกิจกรรมวิจัย (Checklists) ได้แก่
Pre-screening checklist เพื่อช่วยการคัดกรองเบื้องต้น
Eligibility checklist สำหรับคัดอาสาสมัครคุณสมบัติตามที่กำหนดเข้าร่วมโครงการ
Schedule visit checklist เพื่อทำกิจกรรมวิจัยได้ครบถ้วน
Pre-screening checklist เพื่อช่วยการคัดกรองเบื้องต้น
Eligibility checklist สำหรับคัดอาสาสมัครคุณสมบัติตามที่กำหนดเข้าร่วมโครงการ
Schedule visit checklist เพื่อทำกิจกรรมวิจัยได้ครบถ้วน
- แบบฟอร์มต่างๆของโครงการ เช่น
แบบฟอร์มตรวจร่างกาย แบบบันทึกเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์
แบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วย
(Case
Report Form: CRF) เป็นการบันทึกข้อมูลทั้งหมดของอาสาสมัครแต่ละคนตามที่กำหนดในโครงร่างการวิจัยเพื่อจะรายงานผู้ให้ทุนวิจัย
ที่มีรูปแบบเป็นเอกสารหรืออิเล็กทรอนิกส์ ICH GCP 1.11
ผู้วิจัยตกลงข้อมูลจากเอกสารต้นฉบับมาใส่ใน CRF ผู้วิจัยควรให้ความมั่นใจว่า
ข้อมูลที่บันทึกในCRF ถูกต้อง สมบูรณ์ อ่านออกและสามารถส่งข้อมูลในรูปแบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วยและรายงานทั้งหมดที่กำหนดต่อผู้ให้ทุนวิจัยได้ทันเวลา
ข้อมูลที่รายงานในแบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วยซึ่งได้จากเอกสารต้นฉบับ ควรสอดคล้อต้องกันกับข้อมูลในเอกสารต้นฉบับนั้นๆ
หรือควรอธิบายให้ชัดเจนหากมีความแตกต่างกัน
บางโครงการวิจัยอาจใช้ CRF เป็น Source
document เพื่อลดภาระงานของเจ้าหน้าที่และลดความผิดพลาดในการใส่ข้อมูล
ทั้งนี้ควรระบุไว้ในโครงร่างการวิจัย (Protocol) หรือมาตรฐานการปฏิบัติงาน
(SOP)
การบันทึกเอกสารวิจัย
ควรปฏิบัติตามการปฏิบัติบันทึกที่ดี (Good Documentation
Practice)
ซึ่งเป็นการปฏิบัติที่สากลยอมรับในการบันทึก
หรือเก็บรักษา ข้อมูลการวิจัย ที่ใช้ตัวย่อว่า ALCOA
- Attributable มีที่มาที่ไป
เช่น มีการลงนาม วันที่ เพื่อระบุว่า ใครทำ (ลงนาม) ทำวันที่เท่าไหร่ (วันที่)
วัตถุประสงค์เพื่ออะไร (บันทึกโดย ตรวจสอบโดย ตรวจยืนยันโดย
อนุมัติโดย)
- Legible อ่านออก (ขนาดอักษร) เข้าใจ อยู่ในที่ที่เหมาะสมโดยหลีกเลี่ยงการใส่ข้อมูลริมกระดาษ การคำนวณ และการเปลี่ยนแปลงที่เข้าใจได้
- Contemporaneous บันทึกข้อมูลตามที่ออกแบบไว้ บันทึกข้อมูลจริง ในเวลาจริง
- Original เป็นข้อมูลต้นฉบับ คือ ข้อมูลที่ใส่ครั้งแรกในแบบฟอร์มที่ถูกต้อง
- Accurate ข้อมูลถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์
หลักปฏิบัติ GDP กับเอกสารการวิจัย
1.
ให้ใช้ปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน หรือสีดำ หมึกคงทนถาวร
ห้ามใช้ดินสอ
2.
ใช้รูปแบบในการบันทึกแบบเดียวกันทั้งโครงการวิจัย
เช่น
-
เวลาแบบ 24 ชั่วโมง “hh:mm" เช่น 24:00น.
13:00 น.
-
วัน-เดือน-ปี เช่น วันที่
22 มีนาคม 2560 หรือ 22 มี.ค. 2560
-
ลายเซน หรือ ชื่อย่อของเจ้าหน้าที่วิจัย ควรเขียนให้เหมือนเดิมทุกครั้ง
ตามที่ลงไว้ใน Study
Staff Delegation Log
3.
เอกสารที่มีหลายหน้า ควรมีเลขที่หน้า และ จำนวนหน้าที่มีทั้งหมด
4.
ไม่ควรปล่อยให้มีช่องว่าง (“…….”) เพราะอาจทำให้คิดว่าลืมใส่ข้อมูล
หรืออาจมีผู้ไม่ประสงค์ดีมาเติมข้อมูลโดยที่เราไม่รู้ ควรขีด (“ - ”) หรือใส่ N/A เช่นในใบผลLab
5.
การแก้ไขบันทึก ให้ขีดตรงคำหรือข้อความที่ต้องการแก้ไข
ลงนามผู้แก้ไขและวันที่แก้ไข รวมทั้งคำอธิบาย (ถ้าจำเป็น) การแก้ไขควรทำโดยคนที่บันทึกข้อมูลนั้นหรือผู้มีอำนาจ (ผู้วิจัย) ห้ามใส่วันที่ย้อนหลัง
6.
ห้ามใช้การลบด้วยยางลบ/หมึกลบ/เทปลบ
เพราะจะทำให้ไม่เห็นข้อความเดิม
7.
หากพบภายหลังว่า เอกสารต้นฉบับไม่สมบูรณ์
ให้เขียนบันทึกไว้ในแบบบันทึก เอกสารหรือแนบเอกสารเพิ่มเติม และแบบบันทึกเอกสารหรือแนบเอกสารเพิ่มเติมนั้นๆ
ต้องลงนามและวันที่
8.
การสำเนาเอกสาร ให้รับรองสำเนาเอกสารโดยการลงนามหรือลงชื่อย่อและวันที่
อาจมีหรือไม่มีข้อความที่เขียน ด้วยลายมือหรือตราประทับ (Stamp) ระบุว่า “ขอรับรองว่าสำเนาฉบับนี้เหมือนกับต้นฉบับ”
เอกสารที่รับมาทางแฟกซ์ถือว่าเป็นสำเนา
ไม่ใช่เอกสารต้นฉบับ
หากมีเอกสารต้นฉบับเก็บไว้ที่อื่นแล้ว
ก็ไม่จำเป็นต้องรับรองสำเนา
9.
เอกสารที่มีมากกว่าหนึ่งหน้าให้ถือว่าเป็นหนึ่งชุดได้
ลงนามหรือลงชื่อย่อและวันที่ที่หน้าแรก ระบุจำนวนหน้าทั้งหมดเพื่อให้แน่ใจว่ามีจำนวนหน้าครบทั้งหมด
10. เอกสารยกเลิก
เมื่อมีการยกเลิกเอกสาร ให้มีข้อความที่เขียนด้วยลายมือ หรือตราประทับ (Stamp) ระบุว่า “ยกเลิก” ควรทำโดยคนที่ทำเอกสารนั้นหรือผู้มีอำนาจ
(ผู้วิจัย)
11. เอกสารหาย
-
กรณีมีการสูญหายของเอกสารต้นฉบับ
แต่มีสำเนาเก็บไว้อยู่ ให้ใช้สำเนาแทนได้แต่ต้องมีบันทึกข้อความว่าทำไมใช้สำเนาแทนเอกสารต้นฉบับ
ลงนามหรือลงชื่อย่อ และวันที่
-
กรณีมีการสูญหายของเอกสารต้นฉบับและไม่มีสำเนาเก็บไว้
แต่มีข้อมูลเพียงพอที่จะทำเอกสารใหม่ ก็สามารถทำได้พร้อมการอธิบาย ลงนามหรือลงชื่อย่อและวันที่
-
กรณีมีการสูญหายของเอกสารต้นฉบับและไม่มีสำเนาเก็บไว้
ไม่มีข้อมูลเพียงพอที่จะทำเอกสารใหม่ ทำบันทึกข้อความอธิบายเหตุการณ์ ลงนามหรือลงชื่อย่อและวันที่
แล้วเก็บเอกสารไว้
12. การสื่อสารด้วยวาจาที่เกี่ยวข้องกับการให้คำแนะนำแก่ผู้วิจัยควรมีการบันทึกเป็นหลักฐาน
13. การพิมพ์ (Print-out) หรือพิมพ์หน้าจอ (Print screen) ของข้อมูลอิเล็คโทรนิกส์ถือว่าเป็นการทำสำเนา
14. การเปลี่ยนแปลงแก้ไขรายงานต้องชัดเจนว่า
ปรับปรุงแก้ไข (Revision) หรือทำให้ถูกต้อง (Correction)
หรือการแก้ไขเพิ่มเติม (Amendment)
15. หากใช้ระบบรับ-ส่งข้อมูลอิเล็คโทรนิกส์
ต้องมีระบบตรวจสอบ Electronic Capture System
จะเห็นได้ว่า
เอกสารการวิจัยมีข้อกำหนดต่างๆมากมายที่ไม่เหมือนเอกสารหน่วยงานทั่วไป
หากเจ้าหน้าที่วิจัยผู้เกี่ยวปฏิบัติอยู่เป็นประจำ จะเคยชิน และสามารถนำไปใช้กับเอกสารของหน่วยงานได้
อย่าลืมว่า เอกสารวิจัยทั้งหมดเป็นหลักฐานที่ผู้ให้ทุน
ผู้กำกับดูแลการวิจัย และผู้ควบคุมกฎระเบียบตรวจทุกครั้งที่มาและถือว่า หากไม่มีการบันทึกก็คือไม่ได้ทำ
“If you didn't document it, then it didn't happen”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น