พยาบาลวิจัย (Clinical Research Nurse-CRN)
ปัจจุบันนี้พยาบาลนอกจากจะมีบทบาทสำคัญยิ่งในดูแลรักษาผู้ป่วยในหอผู้ป่วยแล้ว ยังมีบทบาทที่สำคัญอื่นเช่น ช่วยดำเนินการวิจัยทางคลินิกซึ่งจะทำให้มีความรู้ไปพัฒนายา ปรับปรุงวิธีการรักษาดูแลใหม่ๆให้แก่ผู้ป่วย บางครั้งในโรงพยาบาลก็จะมีพยาบาลที่ทำหน้าที่ทำวิจัยโดยตรง แต่อย่างไรก็ตาม พยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยใน ward ก็ยังคงต้องช่วยทำวิจัยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ปัจจุบันนี้พยาบาลนอกจากจะมีบทบาทสำคัญยิ่งในดูแลรักษาผู้ป่วยในหอผู้ป่วยแล้ว ยังมีบทบาทที่สำคัญอื่นเช่น ช่วยดำเนินการวิจัยทางคลินิกซึ่งจะทำให้มีความรู้ไปพัฒนายา ปรับปรุงวิธีการรักษาดูแลใหม่ๆให้แก่ผู้ป่วย บางครั้งในโรงพยาบาลก็จะมีพยาบาลที่ทำหน้าที่ทำวิจัยโดยตรง แต่อย่างไรก็ตาม พยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยใน ward ก็ยังคงต้องช่วยทำวิจัยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
พยาบาลวิจัย (Clinical Research Nurse-CRN)
เป็นอาชีพที่น่าสนใจอีกอาชีพหนึ่งของพยาบาลวิชาชีพ มีหน้าที่รับผิดชอบในการทำวิจัยทางคลินิกแบบเต็มเวลา
ตามที่ได้รับมอบหมายหน้าที่จากผู้วิจัยหลัก และทำวิจัยให้เป็นไปตามข้อกำหนดของโครงร่างการวิจัยและกฎระเบียบต่างๆ
สถาบันวิจัย หรือ โรงพยาบาลใหญ่ๆที่ทำวิจัยทางคลินิกเยอะๆ จะมีหน่วยวิจัยที่มีพยาบาลวิจัยทำงานเต็มเวลา
พยาบาลวิจัย อาจเป็นพยาบาลที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วย
ที่ทำหน้าที่เป็นพยาบาลวิจัยด้วย ซึ่งต้องได้รับการอบรมที่เกี่ยวข้องกับการทำวิจัยทางคลินิก
ได้แก่ จริยธรรมการวิจัยในคน (Research Ethics) การปฏิบัติการวิจัยทางคลินิกที่ดี
(Good Clinical Practice) โครงร่างการวิจัย (Protocol)
และอื่นๆ พยาบาลที่ปฏิบัติงานและทำวิจัยด้วยต้องระมัดระวังความสับสนระหว่างการดูแลผู้ป่วยตามทบาทของวิชาชีพกับการปฏิบัติตามโครงร่างการวิจัยและกฎระเบียบการวิจัยให้มีความสมดุลและเหมาะสม
พยาบาลวิชาชีพ (Registered Nurse) ผู้ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วย บางคนมักไม่เข้าใจการทำวิจัยทางคลินิก ไม่สนใจและมักเข้าใจว่า พยาบาลวิจัยทำแต่งานเอกสารและทำงานตามโครงร่างการวิจัย
ซึ่งต่างจากการดูแลทางการแพทย์ที่ผู้ป่วยต้องการในขณะนั้น ข้อกังขาเหล่านี้ทำให้พยาบาลวิชาชีพทีต้องช่วยทำวิจัยบางครั้งจะมีความรู้สึกโดดเดี่ยว ขาดแรงจูงใจในการทำงานวิจัย
เกิดความขัดแย้งในบทบาท ขาดความเข้าใจในการทำกระบวนการวิจัย บางครั้งคิดว่า
การทำวิจัยเป็นการเพิ่มภาระงาน
การแบ่งความรับผิดชอบในการทำวิจัยในโรงพยาบาล
หากมีพยาบาลวิจัยของหน่วยวิจัยมารับผิดชอบแบบเต็มเวลา
พยาบาลวิจัยคนนี้จะมีหน้าที่ทำทุกอย่างในกระบวนการวิจัย ตั้งแต่การขอความยินยอม คัดกรองอาสาสมัคร รวมทั้งการนัดหมายผู้ป่วย พยาบาลวิชาชีพและพยาบาลวิจัยจะประสานงานกัน
เพื่อลดภาระ หรือความเสี่ยงให้ผู้ป่วย เช่น
หากมีการเจาะเลือดเพื่อการรักษาและเพื่อการวิจัยพยายามรวบทำพร้อมกันเพื่อผู้ป่วยจะได้ไม่เจ็บตัวหลายครั้ง
หากมีการนัดก็พยายามนัดให้เป็นครั้งเดียวกันเพื่อผู้ป่วยจะได้ไม่เสียเวลาและค่าเดินทาง
หากไม่มีพยาบาลวิจัยที่ทำงานเต็มเวลา พยาบาลวิชาชีพหลักคนสำคัญที่ร่วมทำวิจัยในหอผู้ป่วย
จะช่วยรับผิดชอบดูแลผู้เข้าร่วมโครงการแต่ละคนที่อยู่ในหอผู้ป่วยหรือมาตามนัดที่หอผู้ป่วย
ในระหว่างที่ผู้เข้าร่วมโครงการอยู่ในหอผู้ป่วย หรือ เมื่อมาตามกำหนดนัด ช่วยประเมินภาวะสุขภาพ
ความต้องการของแต่ละบุคคล และให้การดูแลเป็นรายกรณีไป วางแผนการพยาบาลตามข้อปฏิบัติของหอผู้ป่วย
ดูแลรับคำสั่งแพทย์วิจัย (Study Physicians) บันทึกอาการที่เกิดขึ้น/การรักษาที่ได้รับ
ข้อสงสัย/คำถาม/ข้อวิตกกังวล ประเมินความเสี่ยง ร่วมแก้ไขและแจ้งแก่ทีมวิจัยตามความเหมาะสม
ทั้งนี้ต้องให้สอดคล้องกับโครงร่างการวิจัย
พยาบาลวิชาชีพคนอื่นๆที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยที่มีการทำวิจัย
ดูแลผู้เข้าร่วมโครงการแต่ละคนที่อยู่ในหอผู้ป่วย ตามเวร หรือ เมื่อนัด ดูแลรับคำสั่งแพทย์วิจัย
ประเมินความต้องการการดูแลในขณะนั้น ติดตามและให้การดูแลวางแผนการพยาบาล ประเมินความต้องการการดูแลใหม่หรือที่ต้องการอย่างเร่งด่วนตามการเปลี่ยนแปลง
บันทึกอาการที่เกิดขึ้น/การรักษาที่ได้รับ ข้อสงสัย/คำถาม/ข้อวิตกกังวล ประเมินความเสี่ยง
ร่วมแก้ไขและแจ้งแก่ทีมวิจัยตามความเหมาะสม ทั้งนี้ต้องให้สอดคล้องกับโครงร่างการวิจัย
ความปลอดภัย สิทธิ และความเป็นอยู่ที่ดีของผู้เข้าร่วมโครงการเป็นเป้าหมายหลักในการปฏิบัติงานทั้งของบุคลากรทางการแพทย์และทีมวิจัย
ดังนั้นการร่วมประสานงานระหว่าง 2 ทีมจะทำให้การวิจัยประสบความสำเร็จจนได้องค์ความรู้
ผลิตภัณฑ์ยาและเครื่องมือใหม่ๆ
ที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่ดีต่อการดูแลรักษาโรค
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น