บทบาท
หน้าที่และความรับผิดชอบของบุคคลในทีมวิจัย (Staff
Roles & Responsibilities)
ผู้วิจัยหลัก (Principal Investigator: PI)
- อำนวยการจัดการโครงการวิจัยทั้งหมด ตั้งแต่การวางแผนงาน
การเตรียมงาน การดำเนินงาน
- แน่ใจว่า การดำเนินการวิจัยปฏิบัติตามโครงร่างการวิจัยฉบับที่ได้รับการอนุมัติจากIRBเกี่ยวข้อง
- มาตรฐานการปฏิบัติงาน (Standard
Operating Procedure) และกฎระเบียบทั้งหมด
- ติดต่อกับคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย
- เป็นผู้นำในการจัดการเอกสารการวิจัยได้แก่การแก้ไขโครงร่างการวิจัยตามคำแนะนำของIRB
-
ทบทวน วิเคราะห์
สถานการณ์การเกิดอาการไม่พึงประสงค์และหามาตรการในการดูแล
-
รายงานสถานะการดำเนินการวิจัยแก่ผู้ให้ทุนตามเวลาที่กำหนด/ทันทีที่เกิดเหตุการณ์
-
กำกับดูแลการบริหารจัดการยาวิจัย
-
กำกับดูแลการจัดการตัวอย่างวิจัย
ได้แก่ การเก็บรักษาตัวอย่าง การขนส่ง เป็นต้น
- แน่ใจว่า สมาชิกในทีมวิจัยได้รับการอบรมจริยธรรมการวิจัย
การปฏิบัติวิจัยทางคลินิกที่ดี
-
โครงร่างการวิจัยและอื่นๆตามความเหมาะสม
รวมทั้งมีการบันทึกการอบรมเป็นลายลักษณ์อักษร
-
อำนวยการจัดการเผยแพร่ผลวิจัย
*******************************************************************************
ผู้วิจัยหลักร่วม (Co-principal Investigator: Co-PI)
- ควบคุมกำกับดูแลและให้คำปรึกษาโครงการวิจัย
- แน่ใจว่า การดำเนินการวิจัยปฏิบัติตามโครงร่างการวิจัยฉบับที่ได้รับการอนุมัติจากIRB
มาตรฐานการปฏิบัติงาน (Standard
Operating Procedure) และกฎระเบียบทั้งหมด
*******************************************************************************
ผู้ประสานงานวิจัยหลัก
(Central Clinical Research
Coordinator: CCRC, Central Study Coordinator)
- ควบคุมดูแลการดำเนินการวิจัยตามคำแนะนำจากผู้วิจัยหลักและผู้จัดการโครงการ
- ประสานงานกับผู้ประสานงานวิจัยประจำจังหวัดและผู้ประสานงานวิจัยประจำสถานที่วิจัย
- ช่วยเริ่มต้นการดำเนินการวิจัย
- ช่วย PI ติดต่อสื่อสารกับ ECs/IRBs
- จัดการแฟ้มเอกสารสำคัญของโครงการ
- ช่วยจัดทำมาตรฐานการปฏิบัติงาน
- ตรวจเยี่ยมและให้คำปรึกษาแก่ทีมวิจัยเป็นประจำ
- ควบคุมกำกับดูแลการลงข้อมูล
- รายงานผลการดำเนินงานและรายงานความก้าวหน้าทุกสัปดาห์ต่อผู้วิจัยหลัก
*******************************************************************************
ผู้วิจัยร่วม (Site-investigators)
- เป็นหัวหน้าโครงการประจำสถานที่วิจัย
เป็นบุคคลหลักติดต่อกับเครือข่ายโครงการวิจัย
- ดำเนินการวิจัยปฏิบัติตามโครงร่างการวิจัยฉบับที่ได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยที่เกี่ยวข้อง
มาตรฐานการปฏิบัติงาน (Standard Operating Procedure) และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องทั้งหมด
- ดำเนินกิจกรรมวิจัย การสรรหา คัดกรอง อธิบายรายละเอียดโครงการ
ขอความยินยอม รับผู้ป่วยเข้าร่วมโครงการตามเกณฑ์คัดเข้า-ออก และดำเนินกิจกรรมวิจัย
หรือกำกับดูแลเจ้าหน้าที่วิจัยในสถานที่วิจัย ให้ทำกิจกรรมวิจัยตามที่กำหนด ได้แก่
·
ให้ยาวิจัย
·
ดูแลผู้ป่วยที่มาติดตามการรักษาทุกนัดวิจัยจนกระทั่งสิ้นสุดการนัด
·
ประเมินเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์
·
ให้แน่ใจว่ามี
การประกันคุณภาพผลทางห้องปฏิบัติการ
·
เก็บรักษาและจัดส่งตัวอย่างไปห้องปฏิบัติการอื่นตามที่กำหนด
·
ลงข้อมูล
แก้ไขและเก็บรักษาแบบรายงานผู้ป่วย ตอบแบบฟอร์มการชี้แจงข้อมูล
·
ตรวจดูความเรียบร้อยถูกต้องการลงข้อมูลในแบบรายงานผู้ป่วย
(CRF)และการลงนามใน
·
เอกสารขอความยินยอม
·
เก็บรักษาและจัดส่งแบบรายงานผู้ป่วยให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเมื่อโครงการเสร็จสิ้น
- เป็นบุคคลแรกที่รับรายงานเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์และรายงานเหตุการณ์ไม่คาดคิดอื่นๆที่เกิดที่สถานที่วิจัย
และแจ้งแก่ผู้วิจัยหลักทันทีหากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอาจก่อให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตต่อผู้ป่วย
- ส่งรายงานเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ร้ายแรงต่อผู้วิจัยหลักและIRBที่เกี่ยวข้อง
- เป็นผู้รับผิดชอบหลักในการบริหารจัดการยาวิจัย
- เป็นผู้รับผิดชอบหลักในการดูแลจัดการตัวอย่างวิจัย
- ตรวจสอบงบประมาณและค่าใช้จ่ายของโครงการ
รายงานการใช้งบประมาณต่อผู้วิจัยหลักตามเวลาที่กำหนด
- กำกับดูแลการจัดทำมาตรฐานการปฏิบัติงาน (SOP) และเอกสารวิจัยอื่นๆ
- ช่วยอำนวยการจัดการเผยแพร่ผลวิจัย
*******************************************************************************
ผู้ประสานงานวิจัยประจำสถานที่วิจัย
(Study Site Coordinator: SSC)
- บริหารจัดการงานทั่วไป เช่น เอกสารโครงการ พัสดุอุปกรณ์
งบประมาณ เพื่ออำนวยความสะดวกในการดำเนินงานโครงการ
- ประสานงาน กำหนดนัดหมายกับCRA
และอำนวยความสะดวกในการตรวจเยี่ยม
- รายงานอุปสรรคการดำเนินงาน/ความเสี่ยง ที่คาดว่าจะเกิด
รวมทั้งช่วยแก้ไข
- ประสานงานกับผู้วิจัยหลัก ผู้วิจัยหลักร่วม ผู้วิจัยร่วม
ในการอำนวยความสะดวกและดูแลการดำเนินกิจกรรมวิจัยต่างๆ ได้แก่
·
คัดกรองและรับอาสาสมัครเข้าร่วมโครงการตามเกณฑ์คัดเข้า-ออก
·
ให้ยาวิจัย
·
ดูแลผู้ป่วยที่มาติดตามการรักษาทุกนัดวิจัยจนกระทั่งสิ้นสุดการนัด
·
ให้แน่ใจว่ามี
การประกันคุณภาพผลทางห้องปฏิบัติการ
·
เก็บรักษาและจัดส่งตัวอย่างไปห้องปฏิบัติการอื่นที่เกี่ยวข้อง
·
ลงข้อมูล
แก้ไขและเก็บรักษาแบบรายงานผู้ป่วย ตอบแบบฟอร์มการชี้แจงข้อมูล
·
(Complete manual DCF)
·
ตรวจดูความเรียบร้อยถูกต้องการลงข้อมูลในแบบรายงานผู้ป่วย
(case report form:
·
CRF) และการลงนามในเอกสารขอความยินยอม
·
เก็บรักษาและจัดส่งแบบรายงานผู้ป่วยไปให้ผู้ให้ทุนเมื่อโครงการเสร็จสิ้น
·
ช่วยเหลืองานอื่นๆตามที่ได้รับมอบหมาย
- บันทึกอาสาสมัครเข้าร่วม-มาตามนัดวิจัย (Subject Enrollment log & subject visit log)
- ส่งเสริมและรักษาสัมพันธภาพในการทำงานร่วมกับผู้ร่วมงานและชุมชนในจังหวัด
- รายงานผลการดำเนินงานและรายงานความก้าวหน้าทุกสัปดาห์ต่อผู้วิจัยหลัก
- รายงานการใช้งบประมาณต่อผู้วิจัยหลักตามเวลาที่กำหนด
- ตรวจสอบงบประมาณและค่าใช้จ่ายของโครงการ
- ส่งรายงานเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ร้ายแรงต่อผู้วิจัยหลักและIRBที่เกี่ยวข้อง
- ปฏิบัติตามโครงร่างการวิจัย การปฏิบัติวิจัยทางคลินิกที่ดี
และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง
- จัดการแฟ้มเอกสารสำคัญ (
Investigator Study File) ของโครงการของสถานที่วิจัย
- จัดทำมาตรฐานการปฏิบัติงาน (SOP)
*******************************************************************************
พยาบาลวิจัย (Research Nurse: RN )
- ดำเนินการคัดกรอง รับอาสาสมัครเข้าร่วมโครงการ
ให้ยาวิจัยและสังเกต อาการหลังจากรับประทานยา บันทึกการรักษา
- เก็บตัวอย่างเลือดและปัสสาวะ ส่งตรวจ (Sample Processing and Shipment to Laboratory)
- ตรวจประเมินทางคลินิก วัด-บันทึกสัญญาณชีพ (Vital sign) และตรวจการตั้งครรภ์ (mRDT
& pregnancy test)
- ลงข้อมูล แก้ไขและเก็บรักษาแบบรายงานผู้ป่วย ตอบแบบฟอร์มการชี้แจงข้อมูล (Complete
manual DCF)
- รายงานทันทีหากพบผู้ป่วยที่มีความล้มเหลวในการรักษา และเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ร้ายแรงใดๆกับแพทย์วิจัยซึ่งขึ้นอยู่กับผลทางห้องปฏิบัติการและข้อมูลทางคลินิก
- จัดการนัด จัดทำรายงานเอกสารนัดวิจัย กำหนดนัดกับผู้ป่วย
รวมทั้งเตือนกำหนดนัดกับผู้ป่วย
- บันทึกอาสาสมัครเข้าร่วม-มาตามนัดวิจัย (Subject Enrollment log & subject visit log)
- ส่งเสริมและรักษาสัมพันธภาพในการทำงานร่วมกับผู้ร่วมงานและชุมชนในจังหวัด
- รายงานความก้าวหน้าต่อผู้วิจัยร่วมและผู้ประสานงานวิจัยประจำสถานที่วิจัย
- ดูแลรักษาวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการดำเนินงานให้อยู่ในสภาพใช้งานได้
- รายงานอุปสรรคการดำเนินงาน/ความเสี่ยงที่คาดว่าจะเกิด
ช่วยแนะนำและแก้ไข
*******************************************************************************
เภสัชกร
(Study Pharmacist)
- ดูแลจัดการเรื่องยาวิจัย
- จัดทำดูแลแฟ้มยาวิจัย
- จัดทำบัญชีรับ-จ่ายยา
- จัดทำมาตรฐานการปฏิบัติงาน (SOP)
- ดูแลสถานที่เก็บผลิตภัณฑ์วิจัยที่ปลอดภัยมีตู้เย็นหรือห้องเก็บที่มีอุณหภูมิเหมาะสมตามโครงร่างการวิจัยหรือใบกำกับยากำหนด
- มีระบบการเตือนเมื่อไฟดับ/อุณหภูมิเกินจากกำหนด
- มีแผนการรับ/จ่ายและการแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้น
- เก็บผลิตภัณฑ์วิจัยแยกกับยาที่ใช้ในโรงพยาบาล
*******************************************************************************
เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ
(Laboratory Staff)
- ดำเนินการเรื่องการจัดการตัวอย่าง ตั้งแต่รับ ทดสอบตัวอย่าง
และออกผลการทดสอบ
ดูแลจัดการเก็บรักษาตัวอย่างวิจัยและการขนส่งให้เป็นไปตามที่กำหนดในโครงร่างการวิจัย
- จัดทำ เก็บรักษา เอกสารมาตรฐานห้องปฏิบัติการ (SOP) การเตรียม การเก็บ/ รักษาสิ่งส่งตรวจ การดูแลอุปกรณ์ การตรวจ/วิเคราะห์
ระบบคุณภาพ QC/QA information
- ให้มีใบการรับรองมาตรฐานหรือการควบคุมคุณภาพ: certification/accreditation
- ให้มีReference ranges
ค่าอ้างอิง
- จัดเตรียม จัดซื้อ ตรวจเช็ค บำรุง ซ่อมแซม
พัสดุอุปกรณ์ต่างๆที่ต้องใช้ ให้มีพอใช้
*******************************************************************************
ผู้ช่วยวิจัย (Research Assistant)
- ช่วยสนับสนุนกิจกรรมการคงอยู่ของอาสาสมัครในโครงการวิจัย เช่น จัดการเรื่องการนัดหมายกับอาสาสมัครและเตือนก่อนวันกำหนดนัด
- จัดเตรียม ตรวจสอบเอกสารที่ต้องใช้ เช่นแบบบันทึกข้อมูล แบบฟอร์มต่างๆ
- ช่วยเก็บข้อมูลวิจัย แฟ้มอาสาสมัคร รวบรวมผลLab และลงข้อมูลในฐานข้อมูล
- ดูแลจัดเก็บรักษาเอกสารการวิจัย เช่น ดูแลแฟ้มเอกสารสำคัญ ให้ครบถ้วน
ถูกต้อง ตามกำหนด
- จัดการประชุม ตั้งแต่การวางแผน เตรียมข้อมูลการประชุม
การจองห้องประชุม จัดทำเอกสารประกอบการประชุม การส่งจดหมายเชิญ จัดแผนการเดินทาง
และอาจช่วยจดบันทึกและทำรายงานการประชุม
- จัดเตรียม จัดซื้อ ตรวจเช็ค บำรุง ซ่อมแซม
พัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ต่างๆที่ใช้สำหรับงานวิจัย ให้มีพอใช้
- ช่วยจัดทำรายงานความก้าวหน้าของการดำเนินการวิจัยเพื่อเสนอกับผู้เกี่ยวข้อง
- ร่วมผลิต/เผยแพร่ข้อมูลวิชาการและองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง ในรูปแบบต่าง
ๆ รวมทั้งจัดกิจกรรมวิชาการที่เกี่ยวข้องในงานวิจัยและงานชุมชน
- ร่วมประสานงานกับทีมวิจัย และเครือข่ายอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เช่น
คณะที่ปรึกษาชุมชน
*******************************************************************************
เจ้าหน้าที่ธุรการ (Clerk)
- ช่วยผู้ประสานงานวิจัยบริหารจัดการงานทั่วไป เช่น
เอกสารโครงการ พัสดุอุปกรณ์
- งบประมาณ เพื่ออำนวยความสะดวกในการดำเนินงานโครงการ
- ช่วยผู้ประสานงานวิจัย ประสานงาน
กำหนดนัดหมายกับผู้กำกับดูแลการวิจัย และอำนวย
- ความสะดวกในการตรวจเยี่ยม
- จัดเตรียมเรื่องการเดินทางและการขนส่ง
- ช่วยจัดเตรียม เก็บรักษา พัสดุอุปกรณ์และเอกสารที่ใช้ในการดำเนินงาน
*******************************************************************************
พนักงานขับรถ (Driver)
- ติดตามอาสาสมัครวิจัยกับทีมวิจัย
- รักษาและทำความสะอาดยานพาหนะ รวมทั้ง ตรวจเช็ค ยางล้อ น้ำมัน
และอื่นๆ
- รายงานการเกิดอุบัติเหตุต่อผู้ประสานงานวิจัย
- คืนกุญแจรถหลังจากเลิกงาน
- เก็บlสมุดรายงานการเดินทาง (Log
book of trips)
- ปฏิบัติตามกฎหมายตลอดเวลา
- ปฏิบัติตามจริยธรรมการวิจัยตลอดเวลา
- รักษาสัมพันธภาพที่ดีกับประชาชนและชุมชนในจังหวัด
- ช่วยผู้ประสานงานวิจัยทำงานด้านธุรการ
*******************************************************************************
เจ้าหน้าที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์
(Public Relations Officer: PRO)
ส่งเสริมความสัมพันธ์กับชุมชน
สร้างความเข้าใจ และภาพลักษณ์ที่ดีต่อโครงการวิจัย
ประสานงานอย่างใกล้ชิดกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในชุมชน และชุมชน
*******************************************************************************
และอื่นๆตามความเหมาะสม ของการวิจัย
ผู้ปฏิบัติงานในทีมวิจัย
ต้องทำงานตามหลักจริยธรรมและการปฏิบัติวิจัยทางคลินิกที่ดี
โดยยึดหลักการสำคัญคือการรักษาความลับและความเป็นส่วนตัวของอาสาสมัครอยู่เสมอ
ถ้าอยากสมัครงาน ผู้ประสานงานวิจัยประจำสถานที่วิจัย (Study Site Coordinator: SSC) ต้องไปติดต่อที่ไหนคะ
ตอบลบ