CRC Café : Drug Development การพัฒนายา

วันอาทิตย์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2563

Drug Development การพัฒนายา


การพัฒนายา (Drug Development)
การค้นพบและการพัฒนายาซัก 1 อย่างเป็นเรื่องที่ต้องใช้การเสาะแสวงหาความรู้ เวลา ความอดทน กำลังคนและงบประมาณ จำนวนมหาศาล ยาหรือวัคซีนบางตัวมีการพัฒนามา 50-60 ปี ก็ยังไม่สำเร็จ เช่น วัคซีนป้องกันไข้เลือดออก เป็นต้น การพัฒนายาแบ่งเป็นระยะต่างๆ ดังนี้

ใน Exploratory stage ระยะแห่งการค้นคว้า เมื่อนักวิจัยหรือบริษัทยามีการค้นพบสารประกอบใหม่ที่อาจใช้เป็นยารักษาโรคในห้องปฏิบัติการจากการทำ Basic laboratory research จะมีการจดสิทธิบัตรเป็น Patent molecule นักวิจัยหรือบริษัทยานำสารประกอบที่คิดว่าจะมาเป็นยา (Patent molecule) มาตรวจสอบประสิทธิผลและความปลอดภัย ซึ่งเป็นการทดสอบยาดูเภสัชจลนศาสตร์ (Pharmacokinetics), เภสัชพลศาสตร์ (Pharmacodynamics) ขนาดยา(Dosage) ความเป็นพิษ(Toxicity) ในสัตว์ทดลองต่างๆ เช่น หนู ลิง เป็นต้น เรียกว่าเป็นระยะก่อนการทดลองยาในคน (Pre-clinical research)

จากสารประกอบ 5000-10000 ตัวอาจได้ Patent moleculeซัก 250 ตัวในระยะเวลา 1-6 ปี ตัวอย่างเช่น การวิจัยทดสอบวัคซีนที่จะไปใช้กับคนในลิง อยากมาก ละเอียดมาก อาจจะเอาสัตว์ทดลอง เช่น ลิงมากลุ่มหนึ่ง สมมติว่า 20 ตัว ลิงจำนวนหนึ่งจะเป็นกลุ่มควบคุม (control group)บริสุทธิ์ผุดผ่อง กลุ่มหนึ่งจะฉีดเชื่อโรคเข้าไปไม่ได้วัคซีน กลุ่มหนึ่งจะฉีดเชื่อโรคเข้าไปและได้รับวัคซีนในขนาดต่างๆ มีการตรวจร่างกายเจาะเลือดลิงทุกวัน ลิงตัวไหนตายก็Autopsy เอามาตรวจทุกส่วน ได้องค์ความรู้มากเพราะคงไม่สามารถทำในคนได้ ในปัจจุบันนี้จะมีกรรมการพิจารณาการวิจัยในสัตว์ทดลองว่าความรู้ที่จะได้เมื่อเปรียบเทียบกับความทุกข์ทรมานของสัตว์มันคุ้มไหม ความรู้ที่ได้มาต้องมีการเผยแพร่จะได้ไม่ต้องทำซ้ำซ้อนกัน เรียกว่า คณะกรรมการกำกับดูแลการเลี้ยงและใช้สัตว์ของสถาบัน Institutional Animal Care and Use Committee: IACUC

เมื่อพบว่า Patent molecule ซึ่งอาจเป็นยาหรือวัคซีนทดสอบในสัตว์ได้ผลดีในเรื่องประสิทธิผลและความปลอดภัย แต่ข้อมูลการวิจัยในห้องปฏิบัติการและในสัตว์ทดลองยังไม่ทำให้แน่ใจว่าจะปลอดภัยและสามารถใช้กับคนได้ ข้อมูลจาก Pre-clinical research จะเป็นข้อมูลสำคัญที่นักวิจัยหรือบริษัทยาจะนำไปลงทะเบียนสมัครขอขึ้นทะเบียนยา และทำการวิจัยพัฒนายาต่อไป รวมทั้งคณะกรรมการอาหารและยา (FDA) และคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยยังใช้ข้อมูลจาก Pre-clinical research ประกอบการพิจารณาว่ายานี้เหมาะสมที่จะทำวิจัยในคนได้หรือไม่ ซึ่งจากPatent molecule 250 ตัว มีเพียง 5 ตัวที่จะได้รับการพิจารณาว่าสามารถทำการวิจัยทางคลินิกระยะที่ 1ได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความใหม่

ชุดตรวจโรคด้วยตัวเองที่บ้าน Home Use Test

ชุดตรวจโรคด้วยตัวเองที่บ้าน Home Use Test ปัจจุบันนี้ชุดตรวจโรคด้วยตัวเองที่บ้านมีใช้กันอย่างแพร่หลาย สามารถอำนวยความสะดวกให้เราได้ตรวจโรค...

บทความแนะนำ