Recovery
trial: Randomised Evaluation of COVID-19 Therapy
การศึกษาแบบสุ่มเพื่อประเมินการรักษาโรคโควิด-19
ในขณะที่กำลังมีการระบาดของโรคโควิด-19
ซึ่งเป็นโรคระบาดในคนชนิดใหม่ เรายังขาดความรู้ถึงลักษณะโรคและการรักษาที่เหมาะสม
จึงจำเป็นต้องทำการวิจัยในภาวะวิกฤตการณ์เพื่อต้องการความรู้สำหรับการรักษาผู้ป่วยปัจจุบันและอนาคต
เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2563 มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด
ภายใต้การสนับสนุนของรัฐบาลสหราชอาณาจักรเริ่มโครงการวิจัยยารักษาโรคโควิด-19ที่ใหญ่ที่สุดในโลกในโรงพยาบาลทั่วประเทศซึ่งเป็น
Emergency Research จำนวน 3 โครงการ เพื่อประเมินผลการรักษาโรคโควิด-19 คือ
1. PRINCIPLE:
Evaluating Potential Treatments for COVID-19 Infection in Older People https://www.phctrials.ox.ac.uk/principle-trial
3. REMAP-CAP:
A randomized, Embedded, Multifactorial, Adaptive Platform Trial for
Community-Acquired Pneumonia https://www.remapcap.org/
โครงการ Recovery TRIAL เป็นการศึกษาหายาที่เหมาะสมที่สุดที่ใช้ในการรักษาผู้ป่วยโรคโควิด-19
ที่นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล โครงการนี้รับอาสาสมัครทั้งชายและหญิง ที่มีอายุ 18
ปีขึ้นไป ที่นอนรักษาตัวในโรงพยาบาล และได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคโควิด-19 คือ 1.
มีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ร่วมกับไข้และปวดกล้ามเนื้อ
หรือเป็นโรคทางเดินหายใจร่วมกับการไอและหายใจตื้นๆ 2. ภาพถ่ายเอกซ์เรย์พบ consolidation หรือ ground-glass shadowing
3. ไม่น่าเกิดจากสาเหตุอื่นๆ เช่น ไข้หวัดใหญ่ หัวใจล้มเหลว
เป็นต้น ทั้งนี้การวินิจฉัยขึ้นอยู่กับแพทย์ผู้รักษา รวมทั้งแพทย์ผู้รักษามีความเห็นว่าอาสาสมัครไม่มีประวัติทางการแพทย์ที่จะเกิดอันตรายหากเข้าร่วมโครงการ
เพื่อให้ข้อมูลที่ได้มีความน่าเชื่อถือและคำตอบที่รวดเร็วภายในเดือนมิถุนายน 2563 โครงการนี้จึงต้องการรับอาสาสมัครจำนวนมาก ขณะนี้มี 167 สถานที่วิจัยเข้าร่วมโครงการ มีอาสาสมัครเข้าร่วมโครงการในขณะเขียนบทความนี้
เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2563 จำนวน 5264 รายและยังคงมีการรับอาสาสมัครอยู่
เพื่อไม่ให้เป็นการรบกวนกับบุคลากรทางการแพทย์ที่มีภาระงานมาก รูปแบบการวิจัยจึงเป็นแบบง่ายๆทั้งในเรื่องการขอความยินยอมและการเก็บข้อมูล แพทย์ผู้รักษาเป็นผู้ขอความยินยอมจากอาสาสมัครหรือตัวแทนตามกฎหมาย แล้วเก็บไว้ในซอง หลังจากนั้น 7 วัน ผู้ประสานงานวิจัยจะตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ เนื่องจากเราคาดว่าไวรัสโควิด-19 จะติดอยู่ที่เอกสาร แต่ก็ไม่รู้ว่าอยู่กี่วัน ตามคำแนะนำของหน่วยควบคุมโรคติดเชื้อที่คิดว่า 7 วันน่าจะเหมาะสม
หอผู้ป่วยที่รับผู้ป่วยโรคโควิด-19 จะมีกล่องบรรจุเอกสารที่จำเป็นของโครงการ RECOVERY ได้แก่ เอกสารบันทึกการอบรม สไลด์ เอกสารโครงร่างการวิจัย เอกสารแนะนำอาสาสมัครและใบยินยอม เบอร์โทรศัพท์ติดต่อทีมวิจัยหลัก และจะมียาวิจัยเก็บไว้ให้ในที่ที่ปลอดภัย จะมีผู้ประสานงานวิจัยมาที่หอผู้ป่วยวันละ 2 ครั้ง ตรวจเช็คจำนวนยาวิจัยและเติมให้เต็มทุกวัน คอยมาดูว่ามีการเก็บตัวอย่างส่งตรวจหรือไม่ ผลทางห้องปฏิบัติการเป็นอย่างไร หากพบว่าผลการตรวจโรคโควิด-19เป็นบวกจะแจ้งให้ทีมวิจัยหลักทราบทันที พยาบาลวิจัยจะจ่ายยาวิจัยตามคำสั่งของแพทย์และติดตามเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ร้ายแรง (SAE) ทุกวัน
เพื่อไม่ให้เป็นการรบกวนกับบุคลากรทางการแพทย์ที่มีภาระงานมาก รูปแบบการวิจัยจึงเป็นแบบง่ายๆทั้งในเรื่องการขอความยินยอมและการเก็บข้อมูล แพทย์ผู้รักษาเป็นผู้ขอความยินยอมจากอาสาสมัครหรือตัวแทนตามกฎหมาย แล้วเก็บไว้ในซอง หลังจากนั้น 7 วัน ผู้ประสานงานวิจัยจะตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ เนื่องจากเราคาดว่าไวรัสโควิด-19 จะติดอยู่ที่เอกสาร แต่ก็ไม่รู้ว่าอยู่กี่วัน ตามคำแนะนำของหน่วยควบคุมโรคติดเชื้อที่คิดว่า 7 วันน่าจะเหมาะสม
หอผู้ป่วยที่รับผู้ป่วยโรคโควิด-19 จะมีกล่องบรรจุเอกสารที่จำเป็นของโครงการ RECOVERY ได้แก่ เอกสารบันทึกการอบรม สไลด์ เอกสารโครงร่างการวิจัย เอกสารแนะนำอาสาสมัครและใบยินยอม เบอร์โทรศัพท์ติดต่อทีมวิจัยหลัก และจะมียาวิจัยเก็บไว้ให้ในที่ที่ปลอดภัย จะมีผู้ประสานงานวิจัยมาที่หอผู้ป่วยวันละ 2 ครั้ง ตรวจเช็คจำนวนยาวิจัยและเติมให้เต็มทุกวัน คอยมาดูว่ามีการเก็บตัวอย่างส่งตรวจหรือไม่ ผลทางห้องปฏิบัติการเป็นอย่างไร หากพบว่าผลการตรวจโรคโควิด-19เป็นบวกจะแจ้งให้ทีมวิจัยหลักทราบทันที พยาบาลวิจัยจะจ่ายยาวิจัยตามคำสั่งของแพทย์และติดตามเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ร้ายแรง (SAE) ทุกวัน
การสุ่มแบบไม่มีการปกปิดทำง่ายๆทางอินเตอร์เนตซึ่งสามารถพิมพ์หรือdownloadเก็บมาได้ ผู้ป่วยจะถูกสุ่มให้เข้ากลุ่มต่างๆ 5 กลุ่ม ในสัดส่วน 2:1 ระหว่างกลุ่มที่ได้การรักษาตามมาตรฐานปกติซึ่งเป็นการรักษาตามอาการ ไม่มีการให้ยารักษาโรคโควิด จำนวนประมาณ 2000 คน กับกลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วยยาชนิดต่างๆตามแต่ที่โรงพยาบาลนั้นๆจะมี กลุ่มละ 500-900 คน ในสัดส่วน 2:1 หรือ 2:1:1 หรือ 2:1:1:1 ได้แก่
กลุ่มที่
1 การรักษาตามมาตรฐานปกติ ไม่มีการใช้ยารักษาเพิ่มเติม
กลุ่มที่ 2 lopinavir
/ ritonavir ซึ่งเป็นยาที่ใช้รักษาผู้ป่วยติดเชื้อ HIV
กลุ่มที่ 3 low
dose dexamethasone ซึ่งเป็นกลุ่มยาสเตียรอยด์ที่สามารถช่วยลดการอับเสบ
กลุ่มที่ 4 hydroxychloroquine
ใช้รักษาผู้ป่วยติดเชื้อมาลาเรีย
กลุ่มที่ 5 azithromycin
ซึ่งเป็นยาปฎิชีวนะชนิดหนึ่ง
ชนิดของยาวิจัยอาจมีการปรับเปลี่ยน เพิ่มหริอลด เมื่อมีข้อมูลเพียงพอและทีมวิจัยเห็นชอบร่วมกัน
การเก็บข้อมูลทำโดยแพทย์ผู้รักษาหรือผู้ได้รับมอบหมาย
ข้อมูลที่บันทึกได้แก่ กลุ่มที่สุ่มได้ อายุ เพศ โรคที่เกิดร่วมกัน การตั้งครรภ์
วันเริ่มป่วยด้วยโรคโควิด-19และระดับความรุนแรง วันที่รับการรักษาในโรงพยาบาลและข้อห้ามใดที่เกี่ยวกับการรักษา
หลังจากนั้นก็เก็บข้อมูลติดตามอีกเพียงครั้งเดียวในวันที่เสียชีวิต
หรือวันที่ออกจากโรงพยาบาล หรือวันที่ 28 หลังการสุ่มแล้วแต่ว่าวันไหนจะเกิดก่อน โดยการพบกับอาสาสมัคร
หรือโทรศัพท์คุยกัน หรืออีเมล์ หรือจากการทบทวนเอกสาร/ฐานข้อมูลทางการแพทย์ก็ได้ จะมีระบบการเตือนหากไม่มีการบันทึกข้อมูลวันติดตามในวันที่
28 หลังการสุ่ม
หากมีSuspected Unexpected Serious Adverse Reactions (SUSARs) ที่เกิดจากยาที่ใช้รักษา ได้แก่ Stevens-Johnson syndrome,
anaphylaxis, aplastic anemia เป็นต้น ให้รายงานทันที
ไม่มีการบันทึกเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์เพราะสามารถสืบค้นได้จากบันทึกทางการแพทย์ของอาสาสมัคร
จะมีการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นประจำสม่ำเสมอทุกสัปดาห์ เพื่อที่จะได้รู้ถึงผลการรักษาแต่ละกลุ่มอย่างรวดเร็วและสามารถนำไปใช้กับผู้ป่วยได้ทันท่วงที
ทั้งนี้อาจมีการหยุดยาและเริ่มต้นรักษาด้วยยาชนิดใหม่หากมีหลักฐานเพียงพอ ทีมวิจัยจะทบทวนข้อมูลยาชนิดอื่นๆและเพิ่มชนิดยาที่ใช้รักษาในอนาคต
ผลลัพธ์หลักที่ใช้ในการตัดสินว่าการรักษานี้ได้ผลคือ
การตาย การออกจากโรงพยาบาล ความต้องการใช้เครื่องช่วยหายใจ และความต้องการการบำบัดเพื่อทดแทนการทำงานของไต
จะทำการวิเคราะห์ผลวันที่ 28 หลังการสุ่มซึ่งเป็นระยะเวลาที่เหมาะสมในการประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัยของยาที่ศึกษา
ทำการวิเคราะห์ผลลัพธ์ระยะยาวเพิ่มเติมโดยการทบทวนบันทึกเอกสารหรือฐานข้อมูลทางการแพทย์ขอผู้ป่วย
โครงการนี้จะมี Independent
Data Monitoring Committee ซึ่งเป็นคณะกรรมการอิสระคอยทบทวนกำกับดูแลการวิจัยและให้คำแนะนำแก่ทีมวิจัย
หากมีผลการวิจัยจะมานำเสนอให้ทราบต่อไป