CRC Café : Emergency Research การวิจัยในภาวะวิกฤตการณ์

วันพฤหัสบดีที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2563

Emergency Research การวิจัยในภาวะวิกฤตการณ์


การวิจัยในภาวะวิกฤตการณ์ (Emergency Research)

เป็นความต้องการ การบริการ การดูแลสุขภาพ แบบเร่งด่วนในภาวะวิกฤตการณ์ เพื่อตอบสนองภาวะภัยพิบัติ การระบาดของโรคติดต่อ การโจมตีด้านชีวะวัตถุและเหตุการณ์แผ่นดินไหว หรืออื่นๆ

การระบาดของโรคติดต่อ ได้แก่ COVID-19, H5N1 influenza, SAES, Ebola virus disease เป็นต้น

ความท้าทายในการเผชิญหน้ากับการระบาดของโรค ความขัดแย้งระหว่างการทำวิจัยเพื่อต้องการความรู้สำหรับการรักษาผู้ป่วยในอนาคตและการดูแลรักษาผู้ป่วยปัจจุบัน ในขณะที่มีการระบาดของโรคเกิดขึ้น

การวิจัยในภาวะวิกฤตการณ์เป็นเรื่องที่ต้องทำก่อนที่การระบาดจะยุติและเป็นโอกาสที่จะได้ทดสอบวิธีการใหม่ๆก่อนที่จะเสียโอกาสไป ต้องพยายามทำให้รวดเร็วและกำหนดวิธีการทดสอบเพื่อประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัยให้ชัดเจน เพื่อจะทำให้ผู้ป่วยจำนวนมากที่เป็นขณะที่โรคมีการระบาดเข้าถึงการรักษาที่มีประสิทธิภาพในเวลาที่สั้นที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และแม้ว่าเป็นการทดสอบนั้นยังมิได้มีการพิสูจน์ยืนยันว่าใช้ได้ แต่ก็เป็นวิธีการที่อาจสามารถช่วยชีวิตในเวลาที่เกิดภาวะวิกฤติด้านสาธารณสุขที่สำคัญ

การวิจัยในภาวะวิกฤตการณ์จำเป็นต้องมีการสอดประสานการดำเนินการด้านจริยธรรมและกฎระเบียบเพิ่มลดความล่าช้าในกระบวนการพิจารณา
·         การพิจารณาการวิจัยโดยทั่วไปอาจต้องใช้เวลาหลายเดือน ซึ่งอาจช้าเกินไปไม่ทันต่อเหตุการณ์ สำหรับการวิจัยในภาวะวิกฤตการณ์ ตัวอย่างเช่น เมื่อมีการระบาดของโรคโควิด-19 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของประเทศสหรัฐ (USFDA๗ ใช้เวลาในการพิจารณาโครงร่างการวิจัยโรคโควิด-19ภายใน 24 ชั่วโมง หรือใช้เวลาเพียง 3 ชั่วโมงในการพิจารณาการร้องขอใช้ยาวิจัยเพื่อรักษาผู้ป่วยเป็นรายกรณี(Compassionate use หรือ Emergency use exemption)
·         ถึงแม้จะพิจารณาแบบเร่งด่วน แต่ยังคงต้องพิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วนเหมือนเดิม
·         ยังคงจำเป็นต้องให้ชุมชนได้มีส่วนเกี่ยวข้องในโครงการวิจัยเพื่อลดการตีตรา (Stigma) ความไม่สมัครใจ และลดการต่อต้านโครงการวิจัย

หลักสำคัญด้านวิทยาศาสตร์และจริยธรรมของการวิจัยในภาวะวิกฤตการณ์ที่มีการระบาดโรค
·         การดำเนินการด้านจริยธรรมเพื่อหลีกเลี่ยงการแสวงหาประโยชน์
o   การเคารพในอาสาสมัคร
o   การมีส่วนร่วมของชุมชน และ
o   การขอความยินยอมอย่างเอาใจใส่และระมัดระวัง
·         ความร่วมมือกับผู้วิจัยและเจ้าหน้าที่ที่ได้รับผลกระทบ
o   ระบุผู้วิจัยท้องถิ่นที่มีความสนใจ
o   สนับสนุนให้มีโครงสร้างการวิจัยทางคลินิก ถ้าจำเป็น
o   แบ่งปันและเผยแพร่การปฏิบัติที่ดีที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมดูแลด้านกฎระเบียบและจริยธรรม
·         ความเที่ยงตรงด้านวิทยาศาสตร์
o   ผลประโยชน์ที่เป็นไปได้
o   ความเหมาะสมของรูปแบบการวิจัย โดยผลที่ได้จากการวิจัยเป็นที่น่าเชื่อถือ (Solid Endpoint) และ Intent to treat analysis
·         การพิจารณาอย่างเป็นอิสระและการกำกับดูแลทางด้านวิทยาวิทยาศาสตร์
·         มีการกำกับดูแลอย่างละเอียดระมัดระวังโดย คณะกรรมการกำกับดูแลข้อมูลอิสระ ที่มีความรู้ความชำนาญและเป็นอิสระ
·         ความโปร่งใส  พร้อมที่จะเผยแพร่ข้อมูลกับผู้ร่วมดำเนินการและชุมชนที่ได้รับผลกระทบ
คำแนะนำสำหรับคณะกรรมการเฉพาะกิจโดย WHO ในการทดสอบสิ่งที่ยังมิได้มีการพิสูจน์ยืนยันว่าใช้ได้ในภาวะวิกฤตการณ์ด้านสาธารณสุข
1.    มีข้อกำหนดสำหรับการดำเนินการในสภาวการณ์พิเศษ
2.    มีข้อกำหนดสำหรับการทดสอบสิ่งที่ยังมิได้มีการพิสูจน์ยืนยันว่าใช้ได้
3.    มีจุดมุ่งหมายการวิจัยเชิงทดลองในแง่ของบุคคลกับสิ่งที่สนใจร่วมกัน
4.    สถานที่ออกแบบการวิจัย
5.    ความหมายที่แน่ชัดของการดำเนินการทดสอบสิ่งที่ยังมิได้มีการพิสูจน์ยืนยันว่าใช้ได้ในภาวะวิกฤตการณ์ด้านสาธารณสุข
ซึ่งนำไปสู่การสถาปนาจริยธรรมการวิจัยในภาวะภัยพิบัติ ตัวอย่างเช่น ความพยายามในการหายารักษาโรคอีโบลา (Ebola) ในช่วงที่มีการระบาด 2014 ซึ่งในขณะนั้นยังไม่มีวิธีการใดที่ได้รับการพิสูจน์ว่าได้ผลดีและมีความปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็นยาที่ใช้รักษา หรือวัคซีนที่จะใช้ป้องกันได้
คณะกรรมการจริยธรรมเพื่อการวิจัยด้านสุขภาพแห่งประเทศกินี ได้ดำเนินงาน ดังนี้
มีช่องทางเร่งด่วน หรือเมื่อได้รับการร้องขอ ให้มีการพิจารณาเป็นกรณีพิเศษ
·         จัดตั้งคณะกรรมการชุดพิเศษ: กรรมาธิการโครงการวิจัยโรคอีโบลา
o   พิจารณาการวิจัยทางคลินิกเรื่อง คุณภาพทางด้านวิทยาศาสตร์ และ ความเป็นไปได้ทางสังคม
·         เปลี่ยนความถี่ในการประชุม จากเดือนละ 1 ครั้ง เป็น สัปดาห์ละครั้ง
·         ให้ข้อมูลผลการพิจารณาแก่ คณะกรรมการระดับชาติ
·         มีการยื่นเสนอแบบคู่ขนาน
·         เปิดโอกาสให้ผู้วิจัยได้พบและปรึกษา เพื่อให้คำแนะนำและข้อคิดเห็น
·         ตัวแทนของผู้มีอำนาจมีการติดต่ออย่างใกล้ชิดกับคณะกรรมการระดับชาติและกรรมาธิการโครงการวิจัยโรคอีโบลา
·         ความท้าทาย
o   ความผิดพลาดในการสื่อสารในระยะต้นของการระบาดที่ยังไม่มีวิธีการรักษา Ebola ซึ่งนำไปสู่ความหวาดกลัวและการปฏิเสธจากชุมชนที่จะส่งผู้ป่วยEbolaมารับการรักษาและมาที่ศูนย์วิจัย
o   มีการโต้เถียงอภิปรายเรื่อง การสุ่มตัวอย่าง
o   มีการติดเชื้อในบุคลากรด้านสาธารณสุขเพิ่มขึ้น
o   ปัญหาเรื่องการกำกับดูแล
·         ทางเลือกในการขอความยินยอม
o   การขอความยินยอมจากตัวแทนของอาสาสมัคร: การหาตัวแทนที่สามารถตัดสินใจได้
o   การงดเว้นการขอความยินยอมของแต่ละบุคคล
o   การขอความยินยอมย้อนหลัง จะใช้ในกรณีที่ไม่สามารถขอความยินยอมก่อนดำเนินการจากอาสาสมัครหรือตัวแทน  การขอความยินยอมจากอาสาสมัครหรือตัวแทน โดยเร็วเท่าที่เป็นไปได้หลังจากจะดำเนินการไปแล้ว
o   อื่นๆ : ไม่ต้องมีหัวข้อที่ไม่จำเป็น อะไร?


1 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณสำหรับบทความดีๆนะคะ ตอนนี้เราเรียน Regulartory Science (MS) อยู่ที่อเมริกา ตามหาบทความที่เป็นภาคภาษาไทยอยู่ เพราะไม่มีพื้นฐานด้าน Clinical research อ่านภาษาอังกฤษอย่างเดียว มันเข้าใจยากจริงๆ ขอบคุณค่ะ

    ตอบลบ

บทความใหม่

ชุดตรวจโรคด้วยตัวเองที่บ้าน Home Use Test

ชุดตรวจโรคด้วยตัวเองที่บ้าน Home Use Test ปัจจุบันนี้ชุดตรวจโรคด้วยตัวเองที่บ้านมีใช้กันอย่างแพร่หลาย สามารถอำนวยความสะดวกให้เราได้ตรวจโรค...

บทความแนะนำ