แบบตรวจสอบ
Checklist
ในการบริหารจัดการโครงการวิจัย
ผู้วิจัยต้องดำเนินการวิจัยให้ตรงตามที่กำหนดไว้ในโครงร่างการวิจัย
เพื่อให้ทีมวิจัย ปฏิบัติงานได้ถูกต้องทางผู้ให้ทุนอาจจัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน (Manual of
Operation: MOP) เพื่อแนะนำวิธีการ ปฏิบัติงาน เมื่อแต่ละสถานที่วิจัยได้อ่านทั้งProtocolและMOP ผู้วิจัยอาจต้องการเขียนขั้นตอนการปฏิบัติของสถานที่วิจัยที่ต้องมีรายละเอียดและการอธิบายที่มากกว่า
ผู้วิจัยสามารถจัดทำมาตรฐานการปฏิบัติงาน(Standard Operating Procedure:
SOP) เพื่ออธิบายรายละเอียดขั้นตอนการปฏิบัติงานตามลำดับก่อนหลังที่ทำในสถานที่วิจัย
แต่ละสถานที่วิจัยอาจมีขั้นตอนการปฏิบัติต่างกันเล็กน้อย SOPจะระบุผู้ปฏิบัติว่าเป็นใคร
ทำเมื่อไหร่ และทำอย่างไร ต้องลงบันทึกในเอกสารอะไรบ้างเพื่อให้ทุกคนในทีมวิจัยทำแบบเดียวกัน
และบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่กำหนดไว้ในโครงร่างการวิจัย
เพื่อให้การปฏิบัติครบถ้วนและเป็นไปในแนวทางเดียวกันนอกจาก
SOP ในทางปฏิบัติผู้วิจัยอาจจัดทำ Checklist เพื่อให้ทีมวิจัยทำกิจกรรมได้ถูกต้องตามขั้นตอนก่อนหลังและลงนามโดยผู้ที่ปฏิบัติ ได้แก่
Screening Visit Checklist, Enrollment Visit Checklist, Schedule Visit
Checklist, Unscheduled Visit Checklist, Inclusion/Exclusion Criteria Checklist และอื่นตามความเหมาะสม Checklistจะช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานไม่ลืมสิ่งที่ต้องทำและใช้เป็นหลักฐาน
ว่าได้ทำกิจกรรมวิจัยนั้นๆโดยผู้ลงนาม สะดวกกับmonitorในการตรวจ
Checklistควรประกอบด้วยอะไรบ้าง?
- หัวเรื่อง (Header): Checklist Title
- รหัสนัดวิจัย (Visit Code)
- เลขประจำตัวอาสาสมัคร (Subject Number)
- วันที่ทำกิจกรรม (Date)
- กิจกรรมวิจัย (Study Activity) เรียงตามลำดับงาน
- เอกสารต้นฉบับ (Source Documents) แบบบันทึกข้อมูล (Case Report Form) ที่ต้องบันทึก
- ลงนาม หรือชื่อย่อ ผู้ปฏิบัติ (Study Staff Initials)
- เชิงอรรถ (Footnote) มีเลขเอกสาร (Form Number) ฉบับที่ (Version) หมายเลขหน้า (Page Number) และจำนวนหน้าที่มีทั้งหมด (Total Pages) ทุกหน้า
ตัวอย่างรายการกิจกรรมในการวิจัย-การนัดครั้งที่
1 และ 2
กิจกรรม
|
ฉีดวัคซีน
|
นัดครั้งที่ 2
เดือนการวิจัยที่
6-8
การนัดครั้งสุดท้าย
|
นัดเพราะเจ็บป่วยตลอดระยะเวลาการวิจัย
|
ขอความยินยอม
|
X
|
||
ประวัติทางการแพทย์ทั่วไป
|
X
|
X
|
|
ตรวจสอบเกณฑ์คัดเข้า/ออก
|
X
|
||
การตรวจร่างกาย
|
X
|
X
|
X
|
การตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายก่อนการฉีดวัคซีน
|
X
|
||
หมายเลขอาสาสมัครที่มอบให้
|
X
|
||
การทดสอบปัสสาวะดูการตั้งครรภ์ตามที่ต้องใช้
|
X
|
X
|
|
เจาะเลือด
|
X
|
X
|
|
ฉีดวัคซีนและสังเกตอาการ 30 นาที
|
X
|
||
ให้สมุดบันทึกอาการป่วยประจำวัน
|
X
|
X
|
ตามตัวอย่างกิจกรรมวิจัยเราอาจจัดทำ
Checklist
สำหรับวันนัดครั้งที่ 1, 2 และนัดที่อาสาสมัครป่วย
โดยเรียงขั้นตอนการปฏิบัติทั้งหมด ซึ่งมีขั้นตอนปฏิบัติโดยเจ้าหน้าที่ในทีมวิจัยหลายคน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น