การให้คำปรึกษาเรื่องการกินยาต้าน
การให้คำปรึกษาเรื่องการกินยาต้าน
เป็นกระบวนการสื่อสารระหว่างผู้ให้คำปรึกษา (Counselor-co) และ ผู้รับคำปรึกษา (Client-cl) ซึ่งเป็นผู้ติดเชื้อ
HIV ที่ต้องกินยาต้านเป็นประจำทุกวันตลอดชีวิต
การให้คำปรึกษาจึงเป็น การสอดผสาน การให้ความรู้ ข้อมูลต่างๆในการรักษา การป้องกันและการส่งเสริมสุขภาพ
ช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รวมทั้งเสริมสร้างกำลังใจในการฟื้นฟูร่างกายและจิตใจ
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้ให้คำปรึกษา
1.
มีแนวทางในการสร้างกลยุทธ์ในการกินยาต้านร่วมกับผู้มารับบริการ
2.
หาแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนและเหมาะกับกลุ่มพฤติกรรมสุขภาพระดับต่างๆ
3.
ใช้หลักทฤษฎีที่เหมาะกับแต่ละระยะ (stage)
4.
หาแนวทางในการธำรงพฤติกรรมการเกาะติดยาที่เริ่มลดกลับไปที่เดิม
เพื่อให้ผู้มารับบริการ
1.
มีทักษะความรู้ความเชื่อมั่นในการใช้ถุงยางอนามัยอย่างเหมาะสมและถูกต้อง
2.
สามารถจัดระบบการกินยาได้
3.
สามารถมีวิธีกินยาในสถานการณ์ที่หลากหลาย เช่น
- เมื่อต้องการความเป็นส่วนตัว
- มีการเปลี่ยนกำหนดการ
เช่น รถติดกลับบ้านช้า
- เมาค้าง
- เลยเวลากินยา
- ลืมกินยา
4.
ปฏิบัติตามข้อกำหนดของการกินยาสามารถจำปริมาณและเวลาที่ต้องกินยา
5.
จัดการกับผลข้างเคียงของยาได้
6.
สามารถจัดการผลที่ตามมาทางสังคม
หลักการ ใช้กระบวนการเปลี่ยนแปลงตนเอง
ของ อาจารย์ทิพาวดี เอมะวรรธนะ
1.
รู้ (Awareness)
ถ้ายังไม่รู้หรือยังไม่เข้าใจต้องให้ข้อมูลอีก
2.
ครุ่นคิด (Contemplation)
3.
ตัดสินใจ (Making decision)
4.
มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม (Change new
behavior)
5.
ธำรงพฤติกรรมใหม่ (Maintain new
behavior)
6.
กลับมามีพฤติกรรมเดิม (Relapse)
การเตรียมตัวให้คำปรึกษา
1.
ผู้ให้คำปรึกษาต้องมีความรู้ความเข้าใจเรื่องHIV ยาต้าน
2.
สร้างกลยุทธ์ในการให้การปรึกษา (Counseling
strategic)
กระบวนการให้คำปรึกษา
1.
ผู้ให้การปรึกษาต้องให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ
1.1
เป้าหมายของการกินยา
1.2
ข้อมูลยา
1.3
วิธีการกินยา เมื่อไร อย่างไร
1.4
การใช้ถุงยางอนามัย
2.
สอบถามพฤติกรรม (Behavioral
Interview)
2.1ผู้ให้การปรึกษาประเมินระดับของพฤติกรรมพื้นฐาน
2.1.1
ประเมินพฤติกรรมเสี่ยง เช่น ชอบไปเซาน่า ผับ
ทุกอาทิตย์
2.1.2
การป้องกัน เช่น การใช้ condom
รวมทั้งทัศนคติความเชื่อในการใช้
2.1.3
ประเภทคู่นอน เช่นมีแฟนประจำ, มีคู่นอนคนเดียว
2.1.4
วินัยสุขภาพ เช่น ตรวจเอชไอวีเป็นประจำ
ตรวจเลือดของแฟนเป็นประจำ
2.1.5
พฤติกรรมพื้นฐานที่มีอิทธิพลต่อการเกาะติดยา
เช่น เป็นคนที่ไม่มีกำหนดเวลา
ที่แน่นอนในกิจกรรมที่ต้องทำเป็นประจำ
ซึ่งเป็นลักษณะปกติของคนไทย
2.2
ประเมินระดับของพฤติกรรมพื้นฐานที่มีอิทธิพลต่อการเกาะติดยา
ใช้ scale
0-5 เช่น
2.2.1
มีตารางกิจวัตรของตัวเองหรือไม่ เวลานอน
เวลาตื่น ทำงานอยู่เวรบ่าย ดึก
2.2.2
ให้คะแนนสุขภาพของตัวเอง
หาพื้นฐานของ“วินัยสุขภาพ”
2.3
สำรวจเป้าหมายของผู้มารับบริการเรื่องการกินยา
บางครั้งเราต้องถอยออกไป ๑ ก้าว
เพราะมันไม่ใช่เป้าหมายของผู้มารับบริการตั้งแต่ต้น แต่เพราะมันเป็นเป้าหมายของเรา
ฉะนั้น ทำอย่างไรให้เขาอยากได้เกาะติดการกินยา
(เราก็ต้องเตรียมข้อมูลให้เขาเข้าใจประโยชน์ของการกินยา
ส่งเสริมให้ผู้มารับบริการมีแรงบันดาลใจ (motivation) เพิ่มขึ้น
3.
ทั้งผู้ให้การปรึกษาและผู้มารับบริการต้องเข้าใจ
objectives/outcome
ของการกินยา
4.
หาเป้าหมายชีวิตที่ชัดเจนมากๆ
เช่นตอนที่เราเรียนหนังสือเราต้องสอบเอาใบประกาศ
เราต้องค้นว่าเราต้องการอะไรให้สำเร็จ เราก็จะยึดมั่นเป้าหมาย สร้างเป้าหมายให้กับชีวิตบ่อยๆ
ให้เขาตระหนักถึงเป้าหมาย และความอยากของเขา
5.
หาStatisticของคนที่กินยาได้สม่ำเสมอ
และผลของการกินยา
6.
สร้างแบบบันทึกการกินยา
6.1
ฝึกกินวิตามิน 1-2สัปดาห์ก่อนเริ่มกินยาจริง
6.2
สำรวจร่วมกับผู้มารับบริการว่าเขาอยู่ในส่วนไหนของตาราง
process
of change เพื่อให้เขาเห็นตัวเองว่าอยู่ stage ไหน แล้วให้มีการทบทวนเรื่องประโยชน์หรือเป้าหมายให้ชัดมากขึ้น
และให้เห็นเป้าหมายอยู่บ่อยๆ เห็นoutcome
ให้เป็นรูปธรรม
เช่น
ถามว่ากินยาแล้วเป็นอย่างไรบ้าง “ดีขึ้น”
หรือ“แล้วมันได้ผลเป็นอย่างไร” คือให้เขาเห็น
เป็นรูปธรรมมากขึ้น
7.
ทบทวนความเข้าใจเรื่องยาที่กินทุกครั้งที่พบว่าเขาเข้าใจผิดว่าอย่างไร
ทบทวนทัศนคติความเชื่อของเขา เช่น “ผมกินยาแล้วนี่นา ผมแข็งแรงแล้ว ผมก็ไปเที่ยว
ดื่มเหล้าได้”
8.
ผู้ให้การปรึกษาให้มีสัมพัธภาพที่ดี (Relationship) ทำให้ผู้มารับบริการมีความเชื่อใจ (Trust)
มิฉะนั้นผู้มารับบริการอาจไม่บอกความจริง
8.1
ผู้ให้การปรึกษาต้องช่วยเสริมสร้างแรงจูงใจ
8.1.1
ส่วนบุคคล
8.1.1.1
ความรู้สึกที่ผู้มารับบริการมีสุขภาพดี
8.1.1.2
มีความคิดในเชิงบวกในการกินยาและใช้ถุงยางเพื่อป้องกัน
รวมทั้งเหมาะกับชีวิตประจำวัน
8.1.2
ทางสังคม
8.1.2.1
มีเป้าหมายถึงระดับชุมชน เช่น
ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาจะมีประโยชน์ต่อกลุ่ม
8.1.2.2
มีความคิดในเชิงบวกในการกินยาและใช้ถุงยางเพื่อป้องกัน
รวมทั้งเหมาะกับชีวิตประจำวัน
ทุกครั้งที่พบผู้มารับบริการ
ผู้ให้การปรึกษาต้องมีการประเมินProcess of change ว่าอยู่ใน stage ไหน
ให้คำปรึกษาอย่างไร
จึงสามารถรักษาระดับ เป้าหมายชีวิต, ความต้องการ, อุดมการณ์, สร้างแรงบันดาลใจ,
จะทำตัวดีเพื่อใคร (inspiration),
เห็นคุณประโยชน์ เห็น resources/strengths
ของตัวเองเพิ่มขึ้น
สร้างนิสัยใหม่ (behavior change, maintain new behavior), พอกลับไปมีพฤติกรรมเดิมก็รู้จักหากำลังใจตั้งตัวใหม่อีกที
การประเมินความสำเร็จของการให้คำปรึกษา
1.
การลดลงของ virus load
2.
การเพิ่มขึ้นของ CD4 หรืออยู่ในระดับปกติ
3.
ผู้รับบริการมีสุขภาพดี
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น