CRC Café : การวิจัยทางคลินิกระยะที่ 2 วัคซีน 2019-nCoV (mRNA-1273)

วันอังคารที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2563

การวิจัยทางคลินิกระยะที่ 2 วัคซีน 2019-nCoV (mRNA-1273)

การวิจัยทางคลินิกระยะที่ 2 วัคซีน 2019-nCoV (mRNA-1273)  
โดยทั่วไปเมื่อการวิจัยทางคลินิกระยะที่ 1 เสร็จสิ้นและมีข้อมูลด้านความปลอดภัยเพียงพอ การวิจัยทางคลินิกระยะที่ 2 ที่จะมีความเข้มข้นและมีการควบคุมเป็นอย่างดีจึงเริ่มต้นขึ้น มี 80% ของการวิจัยยาใหม่ในระยะที่ 2 มักล้มเหลวเนื่องยาประสิทธิภาพของยาไม่ดีพอ การวิจัยทางคลินิกระยะที่ 2 มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อประเมินประสิทธิภาพของยา ดูว่ายาทำงานได้ดีในสภาพแวดล้อมที่ถูกควบคุมหรือไม่ ประเมินความปลอดภัยของยาต่อ ค้นหาผลข้างเคียงและหาขนาดยาที่เหมาะสมและความถี่ในการให้ยา (เช่น หนึ่งหรือสองครั้งต่อวัน) จะทำในอาสาสมัครกลุ่มใหญ่ขึ้น ประมาณ 100-500 ใช้เวลาโดยประมาณ 6 เดือนถึง  1 ปี จึงอาจเสร็จ 
เนื่องจากภาวะวิกฤตจากการระบาดของโรคโควิด-19 และความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี่ในปัจจุบัน เอื้ออำนวยให้การวิจัยมีความรวดเร็วขึ้น เป็นเรื่องน่ายินดีว่าผลการวิจัยเบื้องต้นในการวิจัยระยะที่ 1  แบบเปิด เพื่อศึกษาความปลอดภัยและฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกัน จากปริมาณวัคซีน 2019-nCoV (mRNA-1273) ที่แตกต่างกัน ในผู้ใหญ่สุขภาพดีและหญิงสุขภาพดีที่ไม่ตั้งครรภ์ อายุ 18-55 ปี ในจำนวนอาสาสมัครทั้งหมด 45 คน ที่ได้รับวัคซีนแบบฉีด 2 เข็มห่างกัน 28 วัน เปรียบเทียบกับการฉีดแบบ 3 เข็ม ที่เริ่มทำตั้งแต่เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2563 พบว่า หลังการฉีดวัคซีนเพียงเข็มเดียว อาสาสมัครทั้งหมดมีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสแล้วในวันที่ 15 หลังการฉีดเข็มแรก  และอาสาสมัคร 8 คนที่ฉีดวัคซีน 2 เข็มก็มีภูมิคุ้มกันขึ้นเหมือนคนที่ติดเชื้อโควิด-19แล้ว  
ที่วันที่ 43 สองอาทิตย์หลังการฉีดเข็มที่ 2 อาสาสมัคร 15 คนที่ได้รับการฉีดวัคซีน 25 μg ก็มีภูมิคุ้มกันขึ้นเหมือนคนที่หายจากโรคโควิด-19 และ อาสาสมัคร 10 คนที่ได้การฉีดวัคซีน 100 μg ก็มีภูมิคุ้มกันขึ้นมากกว่าคนที่หายจากโรคโควิด-19อย่างมีนัยสำคัญ  
สรุปว่า 2019-nCoV (mRNA-1273) กระตุ้นภูมิได้ดี และมีผลข้างเคียงน้อย 
ทางบริษัทโมเดอร์นาได้ประกาศเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2563 ว่า องค์การอาหารและยาของประเทศสหรัฐอนุมัติแบบเร่งด่วนให้ดำเนินการทดสอบวัคซีน 2019-nCoV (mRNA-1273) ระยะที่ 2 เพื่อประเมิน  ความปลอดภัย ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นจากการฉีดวัคซีน และดูฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกันของวัคซีนที่ 2 ขนาดคือ 50 หรือ 100 ไมโครกรัมในผู้ใหญ่ที่มีอายุเท่ากับ 18 ปี หรือมากกว่า ได้แล้ว ตามข้อมูลที่ปรากฏในเวปไซด์ www.clinicaltrials.gov
แถมยังประกาศว่า จะทำการวิจัยวัคซีน 2019-nCoV (mRNA-1273) ระยะที่ 3 ในเดือนกรกฎาคม 2563 ในอาสาสมัคร 30,000 คน  
ชื่อโครงการแบบเป็นทางการ การวิจัยระยะที่ 2 a, แบบสุ่มปกปิดควบคุมด้วยยาหลอกยืนยันขนาดยา เพื่อประเมินความปลอดภัย ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้น  และ ฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกันของวัคซีน mRNA-1273 SARS-COV-2 ในผู้ใหญ่อายุเท่ากับ 18 ปี หรือมากกว่า (A Phase 2a, Randomized, Observer-Blind, Placebo Controlled, Dose-Confirmation Study to Evaluate the Safety, Reactogenicity, and Immunogenicity of mRNA-1273 SARS-COV-2 Vaccine in Adults Aged 18 Years and Older) 
การวิจัยทางคลินิกระยะที่ 2 นี้ จะทำในอาสาสมัครที่มีสุขภาพดี จำนวน 600 คน จะเป็นอาสาสมัครที่มีอายุ 18-55 ปี จำนวน 300 คน และอาสาสมัครที่มีอายุมากกว่า 55 ปี จำนวน 300 คน  
อาสาสมัครจะได้รับการสุ่มให้ได้รับวัคซีนขนาดใดขนาดหนึ่งใน 2 ขนาด คือ 50 μg หรือ 100 μg  หรือยาหลอกซึ่งเป็นน้ำเกลือที่ฉีดเข้าร่างกายคนได้ (saline) โดยฉีดเข็มที่ 1และ 2 ห่างกัน 28 วัน 2 ครั้ง  อาสาสมัครทั้งหมดจะถูกติดตามระดับภูมิคุ้มกันเป็นเวลา 1 ปี  
โครงการนี้ได้เริ่มทำวิจัยเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2563 คิดว่าจะเสร็จประมาณ สิงหาคม 2564 โดยแบ่งอาสาสมัครดังนี้  
กลุ่มที่ 1 อาสาสมัครอายุ 18-54 ปี จะได้รับวัคซีน mRNA-1273 ขนาด 50 mcg หรือ ยาหลอก (Saline)
             อาสาสมัครอายุมากกว่า 55 ปี จะได้รับวัคซีน mRNA-1273 ขนาด 50 mcg หรือ ยาหลอก (Saline)
กลุ่มที่ 2 อาสาสมัครอายุ 18-54 ปี จะได้รับวัคซีน mRNA-1273 100 mcg หรือ ยาหลอก (Saline)
             อาสาสมัครอายุมากกว่า 55 ปี จะได้รับวัคซีน mRNA-1273 ขนาด 100 mcg หรือ ยาหลอก (Saline) 
การประเมินผลลัพธ์หลัก
1.  เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์เฉพาะที่และทุกระบบในร่างกายที่มีข้อมูลบันทึกอยู่ในโครงร่างการวิจัยและคู่มือผู้วิจัย (Solicited AEs) ที่เกิดขึ้นในกรอบเวลา 7 วันหลังการฉีดวัคซีน
2.  เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์อื่นๆที่พบ (Unsolicited AEs) ในกรอบเวลา 28 วันหลังการฉีดวัคซีน
3.  เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ทางการแพทย์ของโรคเรื้อรังที่มีอยู่เดิมแล้วกำเริบรุนแรงขึ้น (Medically-attended adverse events :MAAEs)ในกรอบเวลาตั้งแต่เดือนที่ 0 ถึง เดือนที่ 13
4.  เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ร้ายแรง (Serious adverse events :SAEs)ในกรอบเวลาตั้งแต่เดือนที่ 0 ถึง เดือนที่ 13
5.  การเปลี่ยนแปลงค่าทางห้องปฏิบัติการด้านความปลอดภัยทางคลินิก (clinical safety laboratory)ในกลุ่มที่ 2 จากค่าพื้นฐาน (baseline) ตลอดระยะเวลา 1 เดือนหลังจากฉีดวัคซีนครั้งสุดท้าย
6.  จำนวนและร้อยละของผู้เข้าร่วมโครงการที่ประเมินพบมีความผิดปกติของความดันโลหิต อุณหภูมิร่างกาย อัตราการเต้นของหัวใจ หรืออัตราการหายใจ ตลอดระยะเวลา 1 ปีหลังจากฉีดวัคซีนครั้งสุดท้าย
7.  จำนวนและร้อยละของผู้เข้าร่วมโครงการที่ประเมินพบมีความผิดปกติจากการตรวจร่างกาย ตลอดระยะเวลา 1 ปีหลังจากฉีดวัคซีนครั้งสุดท้าย
8.  ประเมินภูมิคุ้มกันของmRNA-1273 จากการดู titer ของ SARS-CoV-2-specific binding antibody (bAb) โดยวิธี ELISA ตลอดระยะเวลา 1 ปีหลังจากฉีดวัคซีนครั้งสุดท้าย 
การประเมินผลลัพธ์รอง
1.    ค่า titer ของSARS-CoV-2-specific neutralizing antibody (nAb)ตลอดระยะเวลา 1 ปีหลังจากฉีดวัคซีนครั้งสุดท้าย
2.    ค่า Seroconversion ที่วัดจากการเพิ่มขึ้นของ SARS-CoV-2-specific neutralizing antibody (nAb) titer ตลอดระยะเวลา 1 ปีหลังจากฉีดวัคซีนครั้งสุดท้าย 
คุณสมบัติของผู้เข้าร่วมโครงกา
เกณฑ์คัดเลือกอาสาสมัครเข้าร่วมโครงการ อาสาสมัครที่เข้าร่วมโครงการนี้ต้องมีคุณสมบัติตามที่กำหนดระหว่างช่วงที่คัดกรองและในวันที่ 1 เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น
1.    ชาย หรือ หญิง อายุ 18 ปีหรือมากกว่าในวันที่ยินยอมเข้าร่วมโครงการ (วันนัดคัดกรองวันที่ 0)
2.    เข้าใจและตกลงจะปฏิบัติตามกระบวนการวิจัยและให้ความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร
3.    จากการประเมินของผู้วิจัย พบว่ามีสุภาพดีและสามารถปฏิบัติตามกระบวนการวิจัยได้
4.    ค่าดัชนีมวลกาย (Body mass index: BMI) 18 kg/m2 ถึง 30 kg/m2 ในวันนัดคัดกรองวันที่ 0
5.    หญิงที่ไม่มีโอกาสตั้งครรภ์ (non-childbearing potential) อาจจะเข้าร่วมโครงการได้
หญิงที่ไม่มีโอกาสตั้งครรภ์หมายถึง หญิงที่ทำหมันโดยการผ่าตัด (มีประวัติตัดท่อนำไข่ออกตัดรังไข่ออกทั้ง 2 ข้างตัดมดลูกหรือหญิงที่หมดประจำเดือน (ไม่มีประจำเดือนมาเท่ากับ หรือมากกว่า 12 เดือนติดต่อกันก่อนคัดกรองวันที่ 0 โดยไม่มีสาเหตุทางการแพทย์อื่นใดอาจจะมีการวัดระดับ follicle-stimulating hormone (FSH)ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้วิจัยเพื่อยืนยันสถานการณ์หมดประจำเดือน (postmenopausal status)
6.    หญิงที่มีโอกาสตั้งครรภ์อาจจะเข้าร่วมโครงการได้ หากมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
·      มีผลการตรวจการตั้งครรภ์เป็นลบ ที่การคัดกรองวันที่ 0 และวันที่ฉีดวัคซีนครั้งแรก (วันที่ 1)
·      มีการคุมกำเนิดที่เหมาะสม หรือยกเว้นกิจกรรมทางเพศทั้งหมดที่จะทำให้มีโอกาศตั้งครรภ์ได้เป็นเวลาอย่างน้อย 28 วันก่อนได้รับวัคซีนเข็มแรก (วันที่ 1)
·        ตกลงที่จะมีการคุมกำเนิดที่เหมาะสมตลอดระยะเวลา 3 เดือนหลังจากฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 (วันที่ 29)
·      ไม่ได้กำลังให้นมบุตรอยู่ในขณะนี้

การคุมกำเนิดที่เหมาะสมสำหรับผู้หญิง หมายถึง การใช้วิธีการคุมกำเนิดที่ได้รับการอนุมัติจากองค์การอาหารและยา (Food and Drug Administration: FDA)อย่างสม่ำเสมอตามที่กำหนดไว้ในใบกำกับยา ตัวอย่างเช่น
·         โดยวิธีขวางกั้น (Barrier method) เช่น การใช้ถุงยางอนามัย(condoms) หมวกยางกั้นช่องคลอด (diaphragm) หมวกยางครอบปากมดลูก (cervical cap) ร่วมกับยาฆ่าอสุจิ (spermicide)
·         ห่วงอนามัย (Intrauterine device)
·         ยาคุมกำเนิด โดยการกินยาเม็ด ใช้แผ่นปะ ฉีดยาคุมกำเนิดทั้งแบบใต้ผิวหนังหรือเข้ากล้ามเนื้อ
·         การทำหมันชายที่เป็นคู่สมรส (คู่เพศสัมพันธ์ที่มีเพียงคนเดียวของผู้เข้าร่วมโครงการเพศหญิงก่อนเข้าร่วมโครงการ

หมายเหตุ ห้ามไม่ให้ใช้วิธีการคุมกำเนิดแบบงดการมีเพศสัมพันธ์เป็นช่วงๆ เช่น การดูปฏิทิน การนับวันไข่ตก การวัดอุณหภูมิ การหลั่งนอกช่องคลอด เป็นต้น
7. หญิงวัยเจริญพันธ์ต้องมีผลตรวจการตั้งครรภ์จากปัสสาวะ หรือเลือด เป็นลบภายใน 24 ชั่วโมงก่อนได้รับวัคซีนแต่ละครั้ง
8.อาสาสมัครชายที่มีเพศสัมพันธ์กับคู่เพศสัมพันธ์ที่มีโอกาสตั้งครรภ์ได้ต้องตกลงที่จะคุมกำเนิดอย่างเหมาะสมนับตั้งแต่วันที่ได้รับวัคซีนครั้งที่ 1 และตลอดระยะเวลา 3 เดือนหลังได้รับวัคซีนครั้งสุดท้าย 
การคุมกำเนิดที่เหมาะสมสำหรับอาสาสมัครชาย หมายถึง
·         มีคู่เพศสัมพันธ์เพียงคนเดียวที่ใช้ห่วงอนามัย หรือการคุมกำเนิดที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
·         ใช้วิธีขวางกั้น (Barrier method) และยาฆ่าอสุจิ (spermicide)
·         มีประวัติผ่าตัดทำหมันถาวร

·         อาสาสมัครชายที่คู่เพศสัมพันธ์ตั้งครรภ์ก่อนการคัดกรองสามารถเข้าร่วมโครงการได้ 
เกณฑ์การคัดออก อาสาสมัครที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ต่อไปนี้ในวันนัดคัดกรอง (วันที่ 0หรือวันที่ 1เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น จะถูกคัดออกจากการเข้าร่วมโครงการ
1. มีประวัติติดเชื้อ SARS-CoV-2 หรือสัมผัสกับผู้ติดเชื้อ SARS-CoV-2 หรือโควิด-19
2. เดินทางออกนอกประเทศสหรัฐ ใน 28 วัน ก่อนวันนัดคัดกรอง (วันที่ 0)
3. ตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร
4. มีความเจ็บป่วยรุนแรง หรือมีไข้ 24 ชั่วโมงก่อน หรือ ก่อนวันนัดคัดกรอง (วันที่ 0
ไข้ หมายถึง มีอุณหภูมิร่างกายที่วัดทางปาก ≥ 38.0 °C/ 100.4 °F อาสาสมัครที่มีเกณฑ์นี้อาจนัดให้มาใหม่หากยังอยู่ในกรอบเวลาที่กำหนด (window period) อาสาสมัครเจ็บป่วยเล็กน้อยที่ไม่มีไข้สามารถเข้าร่วมโครงการได้ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้วิจัย
5. เคยได้รับวัคซีนวิจัย CoV (ได้แก่, SARS-CoV-2, SARS-CoV, MERS-CoV)มาก่อน
6. กำลังรักษาด้วย ยาวิจัยเพื่อป้องกันโรคโควิด-19
7. มีสภาวะทางการแพทย์ สภาพทางจิต หรืออาชีพการงานที่อาจทำให้เกิดอันตรายต่อการเข้าร่วมโครงการ หรือรบกวนการประเมินด้านความปลอดภัย หรือการแปลผล ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้วิจัย
8.    เป็นผู้ปฏิบัติงานด้านการดูแลสุขภาพ หรือ เป็นสมาชิกในทีมปฏิบัติการฉุกเฉิน
9.    กำลังใช้สารสูดดม ได้แก่ ยาสูบ กัญชา บุหรี่ไฟฟ้า เป็นต้น
10. มีประวัติติดบุหรี่ (≥ 1 มวนต่อวันภายใน 1 ปีก่อนนัดคัดกรอง (วันที่ 0)
11. มีประวัติใช้สารที่ผิดกฎหมาย หรือติดเหล้า ใน 2 ปีที่ผ่านมา ยกเว้นการใช้กัญชาซึ่งเป็นสิ่งผิดกฎหมายในอดีตในรัฐที่อาสาสมัครอาศัยอยู่ แต่ในปัจจุบันที่วันนัดคัดกรองกัญชาเป็นสิ่งถูกกฎหมาย
12. มีประวัติความดันโลหิตสูง หรือ systolic blood pressure > 150 mm Hg ในอาสาสมัครกลุ่มที่ 1 (≥ 18 to < 55 years old) หรือ systolic blood pressure > 160 mm Hg ในอาสาสมัครกลุ่มที่ 2 (≥ 55 years old) ที่วันนัดคัดกรอง (วันที่ 0)
13. มีประวัติความดันโลหิตต่ำ หรือ systolic blood pressure < 85 mm Hg ที่วันนัดคัดกรอง (วันที่ 0)
14. เป็นเบาหวาน
15. ได้รับการวินิจฉัยว่า เป็นโรคปอดเรื้อรัง ได้แก่ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (chronic obstructive pulmonary disease) โรคหอบหืด (asthma)
16. โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด
17. อาศัยอยู่ในบ้านพักคนชรา
18. ผลทางการตรวจทางห้องปฏิบัติการด้านความปลอดภัยทางคลินิก (clinical safety laboratory testing) ระดับที่ 1 หรือมีความเป็นพิษสูง ที่วันนัดคัดกรอง (วันที่ 0)
19. ได้รับการวินิจฉัยทั้งปัจจุบัน หรือในอดีตว่าเป็นโรคที่เกี่ยวกับระบบภูมิคุ้นกัน
20. ได้รับยาที่ทำให้กดภูมิคุ้มกัน หรือยากลุ่ม immune-modifying drugs ติดต่อเป็นประจำรวมทั้งหมด > 14 วัน ใน 6 เดือนก่อนวันนัดคัดกรอง (วันที่ 0) (สำหรับ corticosteroids ≥ 20 mg/day ของ prednisone equivalent อนุญาตให้ใช้ยาสเตียรอยด์ ชนิดทาได้ หากไม่ได้ใช้ภายใน 14 วันก่อนวันนัดคัดกรอง (วันที่ 0)
21. คาดว่าอาจต้องใช้ยารักษาที่ทำให้กดภูมิคุ้มกันในระหว่างร่วมโครงการ
22.   พบผลบวกserology ของ hepatitis B virus surface antigen, hepatitis C virus antibody, หรือ human immunodeficiency virus (HIV) type 1 หรือ 2 antibodies ที่ วันนัดคัดกรอง (วันที่ 0)
23. มีประวัติการแพ้ มีผื่นคัน หรือ อาการไม่พึงประสงค์ที่สำคัญอื่นๆหลังจากได้รับวัคซีน
24. ภาวะเลือดออกผิดปกติซึ่งเป็นข้อห้ามในการเจาะเลือด หรือฉีดยาเข้ากล้าม
25. ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งใน 10 ปีที่ผ่านมา รวมถึง non-melanoma skin cancer
26. ได้รับ หรือวางแผนที่จะได้รับวัคซีนที่ขึ้นทะเบียนแล้ว ≤ 28 วันก่อนได้รับวัคซีนเข็มที่ 1 (วันที่ 1หรือวางแผนที่จะได้รับวัคซีนที่ขึ้นทะเบียนแล้ว ≤ 28 วันก่อนหรือหลังฉีดวัคซีนวิจัย สามารถฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ที่ขึ้นทะเบียนแล้ว มากกว่า 14 วันก่อนหรือหลังฉีดวัคซีนวิจัยได้
27. ได้รับ immunoglobulin หรือ ผลิตภัณฑ์จากเลือด ภายในช่วง 3 เดือนก่อนวันนัดคัดกรอง (วันที่ 0) หรือมีแผนที่จะรับเวลาใดๆขณะอยู่ในโครงการ
28. บริจาคโลหิต ≥ 450 mL ภายใน 28 วันก่อนวันนัดคัดกรอง (วันที่ 0) หรือมีแผนที่จะบริจาคโลหิตเวลาใดๆขณะอยู่ในโครงการ
29. เข้าร่วมการวิจัยทางคลินิกอื่น ภายใน 28 วันก่อนวันนัดคัดกรอง (วันที่ 0) หรือมีแผนที่จะเข้าร่วมวิจัยทางคลินิกที่เวลาใดๆขณะอยู่ในโครงการ
30. มีสมาชิกในครอบครัว หรือสมาชิกในบ้านเป็นเจ้าหน้าที่วิจัย
 ถ้าทราบผลการวิจัยเมื่อไหร่จะมาแจ้งให้ทราบต่อไป 
ข้อมูลโครงการนี้เอามาจากการขึ้นทะเบียนวิจัยในwebsite ที่ https://clinicaltrials.gov/ct2/results?cond=mRNA-1273&term=&cntry=&state=&city=&dist= 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความใหม่

ชุดตรวจโรคด้วยตัวเองที่บ้าน Home Use Test

ชุดตรวจโรคด้วยตัวเองที่บ้าน Home Use Test ปัจจุบันนี้ชุดตรวจโรคด้วยตัวเองที่บ้านมีใช้กันอย่างแพร่หลาย สามารถอำนวยความสะดวกให้เราได้ตรวจโรค...

บทความแนะนำ