การวิจัยวัคซีนป้องกันการติดเชื้อโคโรน่าไวรัส: Coronavirus
Vaccine Study
ตั้งแต่เริ่มมีรายงานการระบาดของโรคปอดอักเสบจากการติดเชื้อโคโรนาไวรัส
(Coronavirus, 2019-nCoV หรือ SARS-CoV-2)
เรียกสั้นๆว่า โรคโควิด-19 (COVID-19)
ครั้งแรกเมื่อ 31 ธันวาคม 2562 พบว่า ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2563
จนถึงขณะนี้ในวันที่ 15 มิถุนายน 2560 มีการเร่งรีบวิจัยวัคซีนป้องกันการติดเชื้อโคโรน่าไวรัส
หลายแบบในหลายประเทศทั่วโลก จากความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี่ทำให้การวิจัยวัคซีนเป็นไปอย่างรวดเร็ว
เราสามารถแบ่งชนิดของวัคซีนที่วิจัยออกเป็นกลุ่มๆ คือ
1. Genetic Vaccines เป็นวัคซีนที่ทำจากยีนส์ (หน่วยพันธุกรรมของโคโรน่าไวรัส – RNA หรือ DNA)เมื่อเข้าไปร่างกายคนจะไปกระตุ้นให้สร้างภูมิคุ้มกัน2. Viral Vector Vaccines วัคซีนที่ใช้ตัวไวรัสส่งหน่วยพันธุกรรมของโคโรน่าไวรัสเข้าสู่เซลส์ของคนแล้วจึงเกิดการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน3. Protein-Based Vaccines วัคซีนที่ใช้โปรตีน หรือส่วนหนึ่งโปรตีน ของโคโรน่าไวรัสไปทำให้เกิดการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน4. Whole-Virus Vaccines ใช้เชื้อที่อ่อนแรง (weakened vaccines) หรือเชื้อที่ตายแล้ว (inactivated vaccines) ปทำให้เกิดการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน5. Repurposed Vaccines วัคซีนป้องกันโรคอื่นแต่สามารถนำมาใช้ป้องกันการติดเชื้อโควิด-19ได้
มีรายงานจาก Coronavirus Vaccine
Tracker โดย Jonathan Corum และ Carl
Zimmer ที่นำเสนอในเวปไซต์ของ The New York Times ว่ามีการวิจัยทางคลินิกเพื่อพัฒนาcoronavirus vaccines จำนวน 140+ โครงการแบ่งออกเป็นระยะต่างๆ ดังนี้
ระยะที่
|
อาสาสมัคร/คน
|
วัตถุประสงค์
|
จำนวน/โครงการ
|
Pre-clinic
|
ห้องปฏิบัติการและสัตว์ทดลอง
|
Safety
Pharmacology, PK, etc.
Toxicity
(Genetic, Carcinogen, Reproductive)
|
125+
|
I
|
สุขภาพดี
20-100
|
เพื่อค้นหาข้อมูลความปลอดภัย
PK/PD
study และหาขนาดยาที่เหมาะสม
|
8
|
I/II
|
100+
|
เร่งรัดการพัฒนาวัคซีนโดยทำครั้งแรกในคน
ในอาสาสมัครจำนวนมาก
|
|
II
|
100-500
|
เพิ่มเติมการประเมินประสิทธิภาพของยาประเมินความปลอดภัยของยาต่อค้นหาผลข้างเคียงและระบุการให้ยาที่มีความแรงในขนาดพอเหมาะและความถี่ในการให้ยา
(เช่น หนึ่งหรือสองครั้งต่อวัน)
|
8
|
III
|
1,000-5,000
|
ทำในอาสาสมัครจำนวนมาก
ในหลายสถานที่วิจัยและหลายประเทศ เพื่อประเมินประสิทธิภาพ ขนาด และ
ความปลอดภัยของยา ผลข้างเคียงหรืออาการไม่พึงประสงค์
|
2
|
Approval
|
อนุมัติขึ้นทะเบียน
|
หน่วยควบคุมกฎระเบียบของแต่ละประเทศทบทวนผลการวิจัยและตัดสินใจอนุมัติ
หรือไม่อนุมัติวัคซีนนั้นๆ
ในระหว่างการระบาดอาจมีการใช้วัคซีนได้แบบฉุกเฉินก่อนจะอนุมัติได้ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของแต่ละประเทศ
|
0
|
หวังว่า
เราคงได้เห็นการอนุมัติวัคซีนป้องกันการติดเชื้อโคโรน่าไวรัสภายในปีหน้า
อย่าให้เหมือนวัคซีนอื่นๆที่เรายังรอคอยอยู่ เช่น HIV ไข้เลือดออก
ที่ยังรอคอยมานานกว่า 30 ปี
รายละเอียดภาษาอังกฤษดูได้จาก
เรื่อง Coronavirus
Vaccine Tracker โดย Jonathan Corum และ Carl
Zimmer ในเวปไซด์ของ The New York Times ที่ https://www.nytimes.com/interactive/2020/science/coronavirus-vaccine-tracker.html
พอดีไปเจอบทความที่คุณอุดม ลิขิตวรรณวุฒิซึ่งเป็นคณะกรรมการที่ปรึกษาชุมชนระดับประเทศ ได้มีโอกาสเข้าประชุมออนไลน์ เรื่องความคืบหน้าของวัคซีนป้องกันไวรัสโคโรน่า โดย นพ.แอนโทนี ฟาวซี ดีมากค่ะ เลยแปะมาให้อ่านกันที่ https://drive.google.com/file/d/1dYItDcBh_OQ1U65P7v1bwCfGzM-5TMSJ/view
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น